สภาพปัจจุบัน ปัจจัยผลกระทบ และแนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามภารกิจของกองทัพอากาศไทย

Main Article Content

มณเฑียร แป้นตุ้ม
วศิณ ชูประยูร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อิทธิพลของปัจจัยพื้นฐานในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต่อสภาพปัจจุบันของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และต่อแนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของข้าราชการกองทัพอากาศ 2) อิทธิพลของสภาพปัจจุบันต่อแนวทางการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลของข้าราชการกองทัพอากาศ และ 3) พัฒนาแนวทางที่เหมาะสม ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อกิจการกองทัพอากาศ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการสังกัดกองทัพอากาศ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างตอบแบบ สอบถามครบร้อยละ 100.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ 1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ สถิติคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) สถิติทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ


ผลการทดสอบสมมติฐานทำให้ได้สมการอิทธิพล จำนวน 15 สมการ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า สภาพปัจจุบันของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมีอิทธิพลต่อ 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (R2 = .523) 2) การบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล (R2 = .567) 3) การพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (R2 = .539) และ 4) การส่งเสริมจากผู้บังคับบัญชา (R2 = .516) อย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กองทัพอากาศ. (2563). ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ 20 ปี. สืบค้นวันที่ 31 ธันวาคม 2563, จาก https://rtaf.mi.th/th/ Documents/Publication/RTAF%20Strategy_Final_04122563.pdf

Ekufu, T.K. (2012). Predicting cloud computing technology adoption by organizations: An empirical integration of technology acceptance model and theory of planned behavior (Doctoral dissertation of Philosophy). Capella University.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). New York: Pearson.

Hanelta, A., Bohnsackb, R., Marzc, D., & Maranteb, C.A. (2021). A Systematic Review of the Literature on Digital Transformation: Insights and Implications for Strategy and Organizational Change. Journal of Management Studies, 58(5). Retrieved from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/ epdf/10.1111/joms.12639

Kaiser, H. F. (1974). An Index of factor simplicity. Psychometrika, 39(1), 31-36.

Kaiser, H. F., & Rice, J. (1974). Little Jiffy, Mark IV. Educational and Psychological Measurement, 34(1), 111-117.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurements, 30(3), 607-610.

McKinsey & Company. (2018). Unlocking success in digital transformations. Retrieved from https://www.mckinsey.com/ capabilities/people-and-organizational-performance/our-insights/unlocking-success-in-digital-transformations#/

Ronald, L. P. (2016). IT Governance Practices of Local Government Units (LGUs) in Cavite. Journal of Business Administration and Languages, 4(2), 53-60.