กลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

วีรพงษ์ คล้อยดี
สัมฤทธิ์ ทองทับ
ปรีชาชาญ อินทรชิต

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา กลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของ คนไทย ๑๒ ประการสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัยมี ๓ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ ๑ การศึกษา สภาพปัจจุบันในการพัฒนาค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย ๑) การสอบถาม ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต ๒) การสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง ๓) การสังเคราะห์ การกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการพัฒนา ค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการของหน่วยงานใน ประเทศ และ ๔) การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๘ คน ขั้นตอนที่ ๒ การพัฒนากลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยม หลักของคนไทย ๑๒ ประการสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน โดยนำผลที่ได้จากขั้นตอนที่ ๑ มาพัฒนาจัดทำเป็น กลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการสู่ การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แล้วนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ คน เพื่อสอบถามความคิดเห็นและตรวจสอบ ความเหมาะสมของกลยุทธ์ และขั้นตอนที่ ๓ การประเมิน กลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยนำผลที่ได้จาก ก Strategies for Driving 12 National Core Values into Implement in Basic Education Schools กลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ขั้นตอนที่ ๒ ไปสอบถามความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๐๕ คน ผลการวิจัยพบว่า ๑. การพัฒนากลยุทธ์การ ขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการสู่การปฏิบัติ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กลยุทธ์ ประกอบด้วย ๔ กลยุทธ์ ๑๐ กลยุทธ์ย่อย ๔๑ โครงการ ดังนี้ ๑) กลยุทธ์ที่ ๑ รณรงค์ สร้างความตระหนัก รับรู้คุณค่าของค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการแก่ครู บุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ๒ กลยุทธ์ย่อย ๑๕ โครงการ ๒) กลยุทธ์ที่ ๒ สร้างความเข้มแข็ง ของเครือข่ายความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในสังคมอย่างยั่งยืน ในการพัฒนาค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ ประกอบด้วย ๓ กลยุทธ์ย่อย ๑๐ โครงการ ๓) กลยุทธ์ที่ ๓ บูรณาการขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการสู่การเรียนการสอนในห้องเรียน ประกอบด้วย ๓ กลยุทธ์ย่อย ๑๒ โครงการ และ ๔) กลยุทธ์ที่ ๔ เพิ่มศักยภาพ ในการกำกับ ติดตามและการวัดผลประเมินผลการดำเนินงาน ขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ ประกอบด้วย ๒ กลยุทธ์ย่อย ๔ โครงการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า กลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสม ๒. การประเมินการพัฒนากลยุทธ์การขับเคลื่อนค่านิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก

 

Strategies for Driving 12 National Core Values into Implement in Basic Education Schools

The research has three objectives: To develop strategies for driving 12 National Core Values into Implement. The research procedure follows 3 steps: step 1-studying present state of the development of 12 National Core Values in schools through the following methods : 1) surveying the opinions of administrators and teachers in charge of “Upright School” Project, 2) Synthesizing related documents, 3) synthesizing policies and ways of practice on the development of 12 National Core Values in the Government agencies, and 4) interviewing 8 purposely selected experts; step 2-constructing strategies for driving 12 National Core Values into practice, by synthesizing the results of the research in step 1. The drafted strategies were validated for the appropriateness through focus group discussion of 10 experts; step 3-evaluating the constructed strategies for driving 12 National Core Values into Implement through the opinions of the sample of 105 school administrators. Research results 1. The development of 12 National Core Values in basic education schools, produced 4 strategies, 10 sub-strategies, and 41 projects as follows : 1) strategy 1-campaigning for building up the realization of the signififfiicance of 12 National Core Values in teachers, personnel, and those involved, which consists of 2 sub- strategies and 15 projects; 2) strategy 2-building up the strength of cooperation network and sustainable participation from all societal sectors, in developing 12 National Core Values of Thai people, which consists of 3 sub-strategies and 10 projects; strategy 3- integrating the driving of 12 National Core Values into teaching and learning in classroom, which consists of 3 sub-strategies and 12 projects; strategy 4- increase the potential in monitoring, following up and evaluating the operation of the driving of 12 National Core Values, which consists of 2 sub-strategies and 4 projects. 2. The evaluation of strategies for driving 12 National Core Values into Implement yielded the result at the high level of possibility.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)