ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจการค้า และการท่องเที่ยวของไทยภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Main Article Content

มนตรี โสคติยานุรักษ์

Abstract

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพเศรษฐกิจการค้า การท่องเที่ยว และภาวะเศรษฐกิจการค้า การท่องเที่ยวของไทยในอาเซียนโดยการวิจัยเอกสาร (Document Research) วิธีการวิเคราะห์เชิงอภิมาน (Meta - Analysis) ร่วมกับการใช้เครื่องมือ SWOT Analysis ใช้ข้อมูลของประเทศไทยและของประเทศอาเซียนช่วง พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๒๕๕๖ เป็นฐานสำาคัญในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า หากความตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีผลสมบูรณ์ใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกของอาเซียนที่มีโครงสร้างเศรษฐกิจพึ่งพาการ ส่งออกเป็นสำาคัญ คือ สูงถึงร้อยละ ๗๓.๕๗ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ยังคงมีศักยภาพและข้อได้เปรียบ ทางการแข่งขันด้านการค้าและการท่องเที่ยวในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการที่ประเทศไทยมีทำาเลที่ตั้ง ที่ได้เปรียบกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ด้วยเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนพอดีและยังมีพรมแดนติดต่อกับ ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มภูมิภาคนี้ถึง ๔ ประเทศ อย่างไรก็ตาม ความพร้อมและขีดความสามารถในด้านการขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ และสมรรถนะของบุคลากรในประเทศเป็นเรื่องที่ประเทศไทยต้องให้ความสำาคัญและเร่งเพิ่มศักยภาพ อย่างรีบด่วนด้วยยังมีข้อจำากัดอยู่อย่างมากหลากหลายประเด็น หากประเทศไทยสามารถที่จะเพิ่มศักยภาพ ขีดความ สามารถและสมรรถนะในเรื่องดังกล่าวเหล่านี้ได้ก็จะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถกลายเป็นผู้นำาของตลาดภูมิภาค อาเซียนได้ในอนาคต บทความนี้จึงได้นำาเสนอยุทธศาสตร์เศรษฐกิจด้านการค้าและการท่องเที่ยวของไทยภายใต้ความ ตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไว้ ๑๙ แนวยุทธศาสตร์ จาก ๓ มิติ การพิจารณา คือ ด้านการค้าระหว่างประเทศ ๖ แนวยุทธศาสตร์ ด้านการค้าชายแดนของประเทศไทย ๓ แนวยุทธศาสตร์ และด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย ๑๐ ยุทธศาสตร์ เพื่อรักษาศักยภาพที่เป็นจุดเด่นของประเทศไว้ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถ ที่ประเทศไทยยังมีข้อจำากัดอยู่ให้น้อยลงหรือหมดไป

 

Economic Strategy on Trade and Tourism of Thailand under the ASEAN Economic Community

The purpose of this research article is to study the potentiality and prospects of the economic and tourism trade of Thailand among ASEAN nations, through a Meta-Analysis and SWOT Analysis, based on documentary research by using the data during the BC 2547 to 2556. Under the assumption of the achievement of the AEC goals in 2015, the results found that Thailand (one of the ASEAN member) whose Economic structure mainly depends on exports (about 74 percent of gross domestic product), still has potential and competitive advantages on economic and tourism trade in numerous dimensions, especially its location as a regional center and its borders with other four neighboring countries in the region. However, the availability and capabilities in the fiffiield of transportation, logistics system, and competency of personnel in Thailand were still limited in many issues. If Thailand is able to upgrade these potentials, including capabilities and competencies, she will become a regional market leader in the future. This article proposes an economic strategy package on trade and tourism of Thailand under the ASEAN Economic Community, with overall 19 strategies considering from the 3 dimensions, i.e., 6 strategies on the International trade, 3 strategies on Thailand’s border trade, and 10 strategies on Thailand’s tourism trade, in order to maintain the strength and opportunities of the country, as well as to eliminate the weaknesses and limitations of the country.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)