กระบวนทัศน์การบริหารการศึกษาเพื่อเตรียมกำลังพลของกองทัพอากาศ

Main Article Content

เสน่ห์ ฎีกาวงค์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีการดำเนินการเป็น4ขั้นตอนคือ1) ศึกษาค้นคว้ากระบวนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา 2) วิเคราะห์องค์ประกอบกระบวนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษาเพื่อเตรียมกำลังพลของกองทัพอากาศ 3) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกระบวนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษาเพื่อเตรียมกำลังพลของกองทัพอากาศ และ 4) การสังเคราะห์แนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาเพื่อเตรียมกำลังพลของกองทัพอากาศ ผลการวิจัยพบว่า1) องค์ประกอบของกระบวนทัศน์การบริหารการศึกษาเพื่อเตรียมกำลังพลของกองทัพอากาศเป็นพหุองค์ประกอบ 7 องค์ประกอบ 149 ตัวแปร ประกอบด้วยด้านสถาบัน ด้านการนำ ด้านการวางแผน ด้านระบบการฝึกศึกษา ด้านกำลังพล ด้านการวัด วิเคราะห์ และจัดการความรู้ และด้านหน่วยเกี่ยวข้อง โดยกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 2 องค์ประกอบ คือด้านสถาบันกับด้านการนำ และมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 5 องค์ประกอบ คือด้านการวางแผน ด้านระบบการฝึกศึกษา ด้านกำลังพล ด้านการวัด วิเคราะห์ และจัดการความรู้ และด้านหน่วยเกี่ยวข้อง และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่าองค์ประกอบกระบวนทัศน์การบริหารการศึกษาเพื่อเตรียมกำลังพลของกองทัพอากาศเป็นพหุองค์ประกอบ 7 องค์ประกอบ มีตัวแปรลดลงจาก149 เป็น 80 ตัวแปร มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) แนวปฏิบัติการบริหารการศึกษา รวมทั้งสิ้น 240 แนวปฏิบัติ แบ่งเป็น 1) ด้านสถาบัน มี 45 แนวปฏิบัติ 2) ด้านการนำ มี 36 แนวปฏิบัติ 3) ด้านการวางแผน มี 30 แนวปฏิบัติ 4) ด้านระบบการฝึกศึกษา มี 51 แนวปฏิบัติ 5) ด้านกำลังพล มี 36 แนวปฏิบัติ 6) ด้านการวัด วิเคราะห์และจัดการความรู้ มี 24 แนวปฏิบัติ และ 7) ด้านหน่วยเกี่ยวข้อง มี 18 แนวปฏิบัติ


 

Abstract

             The research had four operationalized steps: 1) Studied on educational administration paradigm, 2) Analyzed the factors of the paradigm of educational administration for the RTAF personnel preparedness (3) Confirmed the factors of the paradigm of educational administration for the RTAF personnel preparedness, and (4) Synthesized the guidelines of practices for educational administration to prepare the RTAF personnel.The findings of the research were as follows:1)Thecomponents of the paradigm of educational administration for the RTAF personnel preparedness were the 7 multi-factors (149 variables): Institution, Leading, Planning, Education and Training System, Personnel, Measurement- Analysis and KM, and Stakeholder. Overall, the respondents gave a very high level rating for two factors: Institution and Leadership while the other five factors were given a high level rating. The results from the CFA confirmed that the 7 factors of the paradigm of educational administration for the RTAF personnel preparedness were consistent with the empirical data but the variables decreased from 149 to 80. 2) There were a total of 240 guidelines of practices for educational administration: 1) 45 Institutional Guidelines, 2) 36 Leadership Guidelines, 3) 30 Planning Guidelines, 4) 51 Education and Training Systems Guidelines, 5) 36 Personnel Guidelines, 6) 24 Measurement, Analysis and KM Guidelines, and 7) 18 Stakeholder Guidelines..

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)