กองทัพไทยกับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการความมั่นคงชายแดนแบบองค์รวมกับประเทศเพื่อนบ้าน กรณีศึกษาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

ภูมิใจ เลขสุนทรากร
สุนทราภร มะโน

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน(Mixed Methodology) ที่ใช้ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ลักษณะของปัญหาในการวิจัย (Nature of the research problem) เป็นการให้ความสำคัญกับการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดสระแก้ว วัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังนี้ 1) เพื่อประเมินนโยบายของภาครัฐในการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว2) เพื่อศึกษาปัจจัยในการเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว3)เพื่อศึกษาบทบาทของภาครัฐต่อการจัดการในการเพิ่มประสิทธิภาพเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้วและ 4)เพื่อศึกษาบทบาทของกองทัพไทยในพื้นที่ชายแดนไทย – กัมพูชาในการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้วโดยดำเนินการเก็บรวบรวมโดย การค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร การสนทนากลุ่ม (Focus Group)การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interviews) และการทำแบบสอบถาม(Questionnaires)ประชากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ เจ้าหน้าที่ ผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในระดับปฏิบัติการในหน่วยงานภาครัฐ  ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม/ประชาชนทั่วไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหา

           ผลการวิจัย พบว่า เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดสระแก้ว ในปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงานของรัฐบาล ภายใต้การขับเคลื่อนของจังหวัดสระแก้ว โดยมีผู้ว่าราชการเป็นประธานแต่เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ดำเนินการพร้อมกันหลายพื้นที่ ดังนั้น การดำเนินหลักจึงเป็นการให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นเป็นอันดับแรก ซึ่งในการปฏิบัติงานได้ประสบปัญหาในเรื่องของการแปลงนโยบายมาสู่ภาคปฏิบัติ เนื่องจากเป็นลักษณะของโครงการจากส่วนกลางสู่ภูมิภาค ขาดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น สิทธิประโยชน์ของผู้ประกอบการ/ผู้ลงทุน ในการลงทุนยังขาดความชัดเจน  ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวควรต้องมีการให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจโดยให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง มีการบริหารแบบมืออาชีพรวมทั้งควรให้ภาคส่วนอื่น ๆ เข้ามามีบทบาทร่วมในการกำหนดนโยบายโดยเป็นการบูรณาการงานภาคส่วนอื่น ๆ เข้ามาทำงานด้วยกัน เพื่อแก้ไขปัญหาการติดขัดด้วยเรื่องระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ของทางราชการสำหรับบทบาทของกองทัพไทยในพื้นที่ชายแดนไทย - กัมพูชา ในการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้ว เนื่องจากในปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างไทย – กัมพูชา ในพื้นที่จังหวัดสระแก้วมีหน่วยงานทางความมั่นคงหลายหน่วยงานในกองทัพให้การดูแลเพราะเป็นพื้นที่ชายแดนที่มีความมั่นคงสูงเพราะมีความใกล้ชิดกับประเทศกัมพูชา สำหรับกระทรวงกลาโหมมีบทบาทหน้าที่ตามแนวชายแดนที่ดำเนินการในปัจจุบันคือ หมู่บ้านป้องกันชายแดน ดูแลเรื่องกับระเบิด และความมั่นคงทางด้านการค้ามนุษย์และยาเสพติด ซึ่งเป็นบทบาทหลักตามที่ได้รับมอบหมาย แต่สำหรับจากการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้วในปัจจุบันผู้รับผิดชอบหลักคือกระทรวงมหาดไทย สำหรับกระทรวงกลาโหมโดยกองทัพเพียงแต่สนับสนุนระบบการบริหารจัดการตามที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น

This piece of research employs a ‘mixed methodology’ which utilizes both qualitative research and quantitative research in order to investigate the nature of the research problem. It reiterates the significance of the border management of the special economic zone in Sa Kaeo Province. The objectives of this research includes 1) to evaluate the state policies in the border management of the special economic zone in Sa Kaeo Province 2) to examine the factors which could potentially contribute to the efficiency of the border management of the special economic zone in Sa Kaeo province 3) to examine the role of the state in managing the efficiency of the special economic zone in Sakaeo province 4) to study the role of the Thai army in the Cambodian-Thai border in regards to the management of the special economic zone in Sa Kaeo province through ‘mix methodology’ and quantitative and qualitative research. The data has been gathered through discussions held between ‘focus groups’ and ‘in-depth interviews’ as well as questionnaires conducted by experts and any field officers involved in the special economic zone in Sa Kaeo province. Statistical information and its analysis has also been utilized to form this analysis.

Findings of the research

           The special economic zone in Sa Kaeo province is currently under the management of the government as well as the local administration of the Sa Kaeo province. The local governor predominantly oversees the projects currently being run in the regions involved. As such, these projects serve to contribute towards the foundations of the special economic zone. Numerous difficulties have been encountered, including changes in the policies and the details of the projects being managed from the central administration. These issues can be tackled through the distribution of bureaucratic power to the local field, thus lending the local administration with more influence and power to manage and develop projects independently. Other stakeholders should also be allowed to assume more prominent roles in the management of the special economic zone. Likewise, the profits and roles of the investors and stakeholders still remain obscure and vague. This will, in turn, solve any management problems and alleviate the practical constraints placed upon the Thai Army being based in the Cambodian-Thai border and the special economic zone in Sa Kaeo province. As of now, relations between Thailand and Cambodia in Sa Kaeo province are being managed by several agencies within the Thai Army due to the high security nature of the area and its proximity with Cambodia. The Ministry of Defence also has the responsibility of managing defensive villages amongst the border, tackling issues regarding explosives and issues of human trafficking and drugs. Nevertheless, The Ministry of Interior assumes the greatest role in managing the special economic zone in Sa Kaeo province, with the Ministry of Defence and the Thai Royal Army merely assuming supporting roles and performing the duties assigned to them. 

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)