ระเบียบโลกใหม่ของจีน: วิเคราะห์ตามทฤษฎีสัจนิยมใหม่ Chinese new world order: neo-realism theory analysis

Main Article Content

บรรจง ไชยลังกา

Abstract

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของบทความนี้ เพื่อศึกษาถึงการจัดระเบียบโลกใหม่ของจีนตามมุมมองของทฤษฎีสัจนิยมใหม่ซึ่งเป็นบทความต่อเนื่องจากบทความเรื่อง การถ่วงดุลอำนาจระหว่างประเทศมหาอำนาจ: วิเคราะห์ตามทฤษฎีสัจนิยมใหม่ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารต่างๆ และอินเตอร์เน็ต ของสถาบันการศึกษา หน่วยงานทางวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญทางยุทธศาสตร์ต่างๆ
ผลการศึกษาพบว่า
๑. เมื่อพลังอำนาจของสหรัฐอเมริกาเสื่อมถอยลง แต่พลังอำนาจของจีนสูงขึ้น ทำให้เกิดการกระจายขีดความสามารถในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกใหม่ เป็นระบบ ๒ ขั้วอำนาจระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา
๒. เพื่อกระจายความเจริญก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจจากภูมิภาคตะวันออกไปยังภูมิภาคอื่นๆของประเทศ จีนจึงเชื่อมต่อภูมิภาคอื่นๆของจีนเข้ากับภายนอก ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งที่ครอบคลุมไปทั้งเอเชีย ยุโรป และอัฟริกา
๓. ความต้องการพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้จีนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมระหว่างประเทศโดยการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่บริเวณทะเลจีนตะวันออกทะเลจีนและใต้
๔. ความพยายามขึ้นมาเป็นเจ้าในภูมิภาคของจีนมีแนวโน้มถูกรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมกันถ่วงดุลอำนาจ โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ
คำสำคัญ: ระเบียบโลกใหม่ความเป็นเจ้าในภูมิภาค เครือข่ายคมนาคมความมั่นคงด้านพลังงานการถ่วงดุลอำนาจ
Abstract
The purposes of this study were to investigate Chinese new world order according to neo-realism theory. Data was collected from documents and internetsof educational & research institutions and strategic experts.
The findings of this study were as follow:
1. While the US’s power is declined, and China rises, consequently, capabilitydistribution in the Asia - Pacific is changed into bipolarity between China and the US.
2. In order tospread economic growth from the East region to otherregions, Chinaconnects the regions to outside by developing transport infrastructure covering the whole of Asia, Europe and Africa.
3. Because of its rapid increasing demand for energy, China changed its international behavior by asserting its domain over the East andSouth China Seas.
4. China’s attempt to become a regional hegemon is likely to be met by a countervailing coalition of concerning states,asthe US theleader of the coalition.
Keywords: new world order, regional hegemon, communication network, energy security, balance of power

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)