การปรับปรุงกระบวนการการบริหารสินค้าคงคลังโดยใช้ทฤษฎีไคเซ็น กรณีศึกษา: คลังเครื่องแต่งกาย กรมยุทธบริการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย

Main Article Content

จารุวัฒน์ เนตรนิ่ม

Abstract

การปรับปรุงกระบวนการการบริหารสินค้าคงคลังโดยใช้ทฤษฎีไคเซ็น
กรณีศึกษา: คลังเครื่องแต่งกาย กรมยุทธบริการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย

            improvement in the process of inventory management by applying the kaizen approach  case study : clothes warehouse  royal thai armed forces headquarters

บทคัดย่อ

 

            งานวิจัยนี้เป็นการศึกวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษากระบวนการการจัดตรวจนับ การจัดเก็บและการแจกจ่ายของคลังสินค้าคงคลัง ทำการศึกษาขั้นตอนการปฎิบัติงานของสินค้าคงคลัง ศึกษาปัญหา และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารสินค้าคงคลัง และการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพของคลังเครื่องแต่งกาย กรมยุทธบริการ กองบัญชาการกองทัพไทย  โดยใช้ทฤษฎีไคเซ็น

            แนวคิดตามทฤษฎีไคเซ็น ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า ECRS เพื่อการปรับปรุงกระบวนการการทำงานภายในคลังสินค้า ซึ่งทำการปรับปรุงอยู่ 2 เรื่องด้วยกันคือ การสอบยอดบัญชีระหว่างบัญชีคุมและบัญชีคลังสอบยอดกันทุกวัน และการเร่งรัดในการตัดจ่ายใบเบิก

            ผลการวิจัยสามารถทำการปรับปรุงกระบวนการในการบริหารสินค้าคงคลัง    ในเรื่องบัญชีคุมและบุญชีคลัง สอบยอดกันทุกวัน  สามารถลดระยะเวลาในการรอคอยการปฏิบัติงานลงได้จากเดิม ใช้ระยะเวลาในการส่งเอกสารไปยังบัญชีคุมระยะเวลา ประมาณ 5-7 วัน  แต่เมื่อปรับปรุงกระบวนการแล้วสามารถลดระยะเวลาลงเหลือ เพียง 1 วัน และระยะเวลายื่นเอกสารจากบัญชีคุมไปเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาลงนาม เดิมใช้ระยะเวลา 3-5 วัน ลดลงเหลือเพียง 1-2 วัน ในเรื่องการเร่งรัดตัดจ่ายใบเบิก  จากเดิม ทำการจ่ายสินค้าสัปดาห์ละ 3 วัน จ่ายใบเบิกได้ 9 ใบเบิก ปรับเป็นทำการจ่ายสินค้า 5 วันต่อสัปดาห์ สามารถจ่ายใบเบิกได้ 15 ใบเบิกต่อสัปดาห์  เมื่อคิดเป็นระยะเวลาในการตัดจ่ายใบเบิกภายใน 1 เดือน จากเดิมจ่ายได้ 36 ใบเบิก เมื่อปรับปรุงใหม่จ่ายได้ 60 ใบเบิกต่อ 1 เดือน

 

คำสำคัญ  การปรับปรุงกระบวนการ  ทฤษฎีไคเซ็นสิน  ค้าคงคลัง

Abstract

The objectives of this qualitative researchwere to studythe Counting Process, Storing, and Distributing of inventory in the warehouse, to studywork processes of inventory operation, to examine and analyzeproblems in the inventory management. Lastly, to efficiently improve performance in work processesin the clothing warehouse, in Support Services Department, the Royal Thai Armed Forces Headquarters, by applying Kaizen theory.According to the Kaizen Theory, the author used an ECRS as a tool to improve work processes in the warehouse. This study mainly focused on two (2) work processes, which were (1)Inventory Auditing between Physical Inventory and System Inventory for daily inventory confirmation, and (2) Expediting requisitions Order Pay cut. Findings showed that the waiting time in work processes was shortened. For example, the delivery time to send a document to the Physical inventory took1 day instead of 5-7 days. The duration time to wait for having all required documents approved took 1-2 days instead of 3-5 days. On top of that, the requisition order pay cut process normallyworkedonly 3 days a week,with a total of 9 orders per one week. The new process worked 5 day a week, with a total of 15 orders per one week. Previously, we only got a total of 36 orders in a month, but the new improved process yielded 60 orders within one month.

Keywords:         Process Improvement, Kaizen Theory, Inventory

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)