การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพลกรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย THE EMPIRICAL STUDY ON QUALITY OF WORKING LIFE IN THE DIRECTORATE OF JOINT ORERATIONS, ROYAL THAI ARMED FORCES HEADQUARTERS.

Main Article Content

บงกช นิยมาภา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการเห็นคุณค่าในตนเอง ความผูกพันธ์ต่อองค์การ และคุณภาพชีวิตการทำงาน ของกำลังพลกรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของการเห็นคุณค่าในตนเองและความผูกพันต่อองค์การ กับคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพลกรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย 3) ศึกษาอิทธิพลของการเห็นคุณค่าในตนเองและความผูกพันต่อองค์การ ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพลกรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยการส่งแบบสอบถามด้วยตนเองไปที่กำลังพลของกรมยุทธการทหาร จำนวน 250 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบเส้นตรงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ใช้วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน(Stepwise Multiple Regression Analysis)โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01และ0.05

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นยศ ร.ต. – ร.อ. ระยะเวลาในการรับราชการอยู่ระหว่าง  21 -30 ปี อายุอยู่ในช่วง อายุ 41 - 50 ปี และ   มีรายได้ต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท ให้ระดับความสำคัญกับการเห็นคุณค่าในตนเองในระดับสูง มีความผูกพันต่อองค์การในระดับปานกลาง และมีคุณภาพชีวิตในการทำงานระดับสูง ผลการวิจัย พบว่าการเห็นคุณค่าในตนเอง มีความสัมพันธ์ระดับสูง กับคุณภาพชีวิตการทำงาน และความผูกพันธ์ต่อองค์การ มีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง กับคุณภาพชีวิตการทำงาน ของกำลังพลกรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการหาตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลต่อตัวแปรตาม พบว่า ตัวแปรที่มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในการพยากรณ์คุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวม ของกำลังพลกรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทยได้ดีที่สุด คือ การเห็นคุณค่าในตนเองด้านภาพรวม ความผูกพันต่อองค์การด้านมาตรฐานทางสังคม และการเห็นคุณค่าในตนเองด้านเฉพาะในงาน ตามลำดับ

คำสำคัญ: การเห็นคุณค่าในตนเอง, ความผูกพันต่อองค์การ, คุณภาพชีวิตการทำงาน

This research aims to 1) Study in self esteem affects the quality of working life in The directorate of Joint Operrations, Royal Thai armed Forces Headquarters with statistically significant. 2) Study the impact of organization commitment to quality of working life in the Army Training Command of the Royal Thai Armed Forces Headquarters with statistically significant.

          Researchers had collected data from 250 questionnaire respondents who work in The Directorate of Joint Operrations, Royal Thai Armed Forces Headquarters. The data from the sample group of respondents were analyzed using the Statistical Analysis Software to compute frequency, percentage, mean, standard deviation. The hypothesis was tested by using Pearson's Product Moment Correlation and Stepwise Multiple Regression Analysis

          The result of this research revealed that majority of sampling group were male, 41-50 years of age, Bachelor's degree or equivalent, Position in Sub Lieutenant – Captain have work life between 21-30 years of age, average monthly income of 20,001 – 30,000 baht. For recognition factor, the priority to Self-esteem was high, Organizational Engagement was medium and the Quality of working life was high. For hypothesis, The Self-Esteem correlated high with the quality of working life and Organizational Commitment correlated moderately with the quality of working life with statistically significant. Finding the variables influence to the dependent variable showed that the variables in the regression coefficient prediction quality of working life affecting the Overall of Global Self Esteem Normative Commitment and Specific Self Esteem in the job of The Directorate of Joint Operations, Royal Thai Armed Forces Headquarters respectively.     

Keywords: SELF ESTEEM, ORGANIZATION COMMITMENT, QUALITY OF WORKING LIFE

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)