แนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหมเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์การป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหมเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน” มีจุดประสงค์เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การป้องกันประเทศที่สามารถเสริมสร้างความยั่งยืนของประชาคม การเมืองและความมั่นคงอาเซียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกการสนทนากลุ่มและแบบสอบถามเพื่อการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลถือได้ว่าเป็นบุคคลระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานโดยตรงซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศเป็นอย่างดี การเลือกผู้ให้ข้อมูลเป็นการเลือกโดยใช้ข้อพินิจฉัยของผู้วิจัยเองกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการเลือกโดยจงใจนั่นเอง เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวในการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ข้อมูลที่ได้มาจากทุกแหล่งทำการวิเคราะห์โดยวิธีการจำแนกประเภทเป็นหมวดหมู่ การทำข้อมูลให้เป็นระบบระเบียบ การเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน การสังเคราะห์ การบรรยายพรรณนาและวิธีการอุปมาณ ในที่สุดก็ได้มาซึ่งแบบแผนและประเด็นสำคัญของปรากฏการณ์ที่ทำการศึกษาเพื่อให้แน่ใจว่าสิ่งที่ค้นพบมีความถูกต้องเป็นจริงโดยผู้วิจัยได้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์สามเส้าเชิงข้อมูลด้วย
จากผลของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ค้นพบข้อเท็จจริงต่าง ๆ มากมาย แต่ที่สมควรนำเสนอในที่นี้ได้แก่ข้อเท็จจริงที่สำคัญบางอย่างเท่านั้น กล่าวคือ กลยุทธ์ในการป้องกันประเทศในมิติของประชาคมการเมือง และความมั่นคงอาเซียนในเรื่องนี้กระทรวงกลาโหมจำเป็นต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ ในขณะที่กระทรวงกลาโหมได้ทำการประเมินยุทธศาสตร์แห่งชาติที่มีอยู่เรียบร้อยแล้ว พบว่า ความมั่นคงของชาติอยู่ในระดับที่มีความมั่นคงที่ดี และขีดความสามารถของกองทัพไทยอยู่ในลักษณะที่มีความพร้อม ดังนั้นทุกภาคส่วนของกองทัพไทยจึงสามารถเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียนโดยแทบไม่มีอุปสรรคใด ๆ เลย คาดว่าการบูรณาการเข้ากับประชาคมอาเซียนจะไม่เผชิญกับอุปสรรคใด ๆ แต่ถึงกระนั้นก็ตามอุปสรรคที่แฝงอยู่ในรูปแบบทั้งภัยคุกคามรูปแบบเดิมและภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่คอยขัดขวางความมั่นคงของชาติอยู่บ้างในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดี สามารถจะกล่าวโดยไร้ข้อสงสัยว่ากองทัพไทยนั้นเป็นกองทัพที่มีความพร้อมในด้านต่างๆ กองทัพหนึ่ง ในประชาคมอาเซียน โดยกองทัพไทยมีความพร้อมทั้งด้านกำลังพลและยุทโธปกรณ์ในการปฏิบัติการต่างๆ ตลอดจนมีกลไกของการร่วมมือกับเพื่อนบ้าน เพื่อความมั่นคงของชาติ จุดอ่อนที่ปรากฏชัดบางอย่างก็คือ ความเกี่ยวข้องทางด้านกฎหมายและความต้องการยุทโธปกรณ์ทางทหารที่ทันสมัย สภาพความไม่มั่นคงทางการเมือง และเสถียรภาพในการบริหารจัดการความมั่นคงของประเทศ
กล่าวโดยรวมองค์ประกอบทางด้านความยั่งยืนทางการเมืองและความมั่นคงของประชาคมอาเซียน จะต้องได้รับการเสริมสร้างเพื่อนำมาซึ่งความอยู่รอดของสมาชิกของประชาคมอาเซียน และเพื่อความสมดุลทางการเมืองและความมั่นคง สิ่งเหล่านี้จะต้องมุ่งไปสู่ความร่วมมือความร่วมใจของประเทศสมาชิกอาเซียน ยิ่งไปกว่านั้นกลไกที่สำคัญบางอย่างจะต้องสร้างขึ้นเพื่อช่วยการขับเคลื่อนการพัฒนาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคง พร้อม ๆ กับการสร้างบรรยากาศแห่งความเป็นมิตรไมตรี และรักษาความเป็นกลาง ตลอดจนขจัดเงื่อนไขที่จะก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ หรือความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ ประเทศสมาชิกทุกประเทศจะต้องยึดมั่นผูกพันต่อการทำงานร่วมกันและรักษาผลประโยชน์ร่วมกันเกี่ยวกับการสร้างแนวทางการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนนั้น กระทรวงกลาโหมต้องมีบทบาทในการสร้างวิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นทุกรูปแบบ กระทรวงกลาโหมมีพันธกิจที่จะต้องเตรียมกำลังพลให้มีความพร้อมในกรณีที่ต้องใช้กำลังที่สำคัญยิ่งกว่านั้นกระทรวงกลาโหมจะต้องมีแผนงาน โครงการความร่วมมือต่างๆ ที่สนับสนุนความยั่งยืนของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน และต้องสามารถนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างมีประสิทธิผล
ABSTRACT
The study titled “Guidelinefor National Defence Strategy Development by the Ministry of Defence to Enhance the Sustainability of the ASEAN Political and Security Community” was designed to investigate the National Defence Strategy that can be put to use with an eye to enhancing the sustainability of ASEAN Politics and Security Community. The study was qualitative in nature. The required data were derived from documents, participant observations, audiovisual materials and in – depth interviews with 19 key informants. All of the informants were topflight persons and had deep knowledge and understanding of the National Defence Strategies of Thailand and those of ASEAN countries.
The selection of the key informants was based on the judgment of the researcher. In other words, the key informants were purposively selected. The study tool was a semi – structured interview guide. The collected data from all sources were analyzed by means of categorizing, systematizing, interrelating, synthesizing narrative analysis and analytic induction. Finally, the patterns and themes of the phenomena studied were derived. To make sure that the findings were valid, the researcher resorted to data triangulation to some degree.
As a result of the qualitative data analysis, the researcher has discovered a wide variety of facts. However, only the following salient facts merit presentation here. The NationalDefenceStrategy to enhance the sustainability of ASEAN Politics and Security Community requires great preparations in the following aspects: economic, social, cultural, political and security. In this regard, the Ministry of Defence is obligated to take full responsibility. At present, the Ministry of Defence has already assessed the existing national strategy and it has been found that the National Security is quite excellent and the capacity of the Thai Armed Forces is superb; thus all sectors of the Thai Armed Forces are capable of entering the ASEAN Community with little difficulties. As a result, expectedly the integration with the ASEAN Community will not meet with any serious obstacles. Yet, there are still some latent obstacles – both old threats and new ones – stifling the National Security to some degree. However, it could be generally suid, without a shadow of a doubt, that Thai Armed Forces is one of the topflight armed forces in ASEAN Community. The Thai Armed Forces is fully equipped with troops and armaments along with the cooperative mechanisms with neighboring countries for national security. Some weaknesses are by far a lack of legal recognition and state-of-the-art military equipment, not to mention the continual political instability. These things have some bearings on the continuity and consistency in the management of the National Security.
On the whole, the components of the sustainability of politics and security of the ASEAN Community are bound to be developed so as to bring about the survival of ASEAN member countries as well as the balance of politics and security; and all these things must be geared up to cooperate and collaborate among ASEAN member countries. Furthermore, some important mechanisms must be created to put in motion the social, economic, political and security development together with the creation of friendly atmosphere plus the maintenance of neutrality and the elimination of conditions favorable to international conflict or confliet of interest; all member countries must be committed to work together and nurture common interests.
With regard to the creation of the National Defence Strategy planning guidelines to enhance the sustainability of ASEAN Politics and Security community, the Ministry of Defence must play its role in creating the guidelines. That is to say, it is incumbent up on the Ministry of Defence to formalate the vision, the missions, the purposes and the objectives with a view to coping with all kinds of potential threats; the Ministry of Defence has the mission to maintain sufficient troops in case the use of force deemed necessary. More importantly, the Ministry of Defence must have work plans / projects in accordance with the political and security framework of ASEAN and must be able to transform the National Defence Strategy into practical use.