กระบวนเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศประเภทเครื่องสูงในการแสดงโขน The Procession of Umbrellas of State as the Royal Regalia in Khon
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศประเภทเครื่องสูงในงานพระราชพิธี และในการแสดงโขน ศึกษารูปแบบ และวิธีการเต้นวิเคราะห์องค์ประกอบ และท่าเต้น ประกอบเครื่องสูงในการแสดงโขนแบบหมู่ และแบบเดี่ยว ด้วย วิธีดำเนินการวิจัยโดยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ โดย ศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ สังเกตและบันทึกภาพเก็บข้อมูล
ผลการศึกษา เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศประเภทเครื่องสูงในพระราชพิธีเป็นสิ่งซึ่งแสดงเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ และเจ้านายซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนาน และมีวิธีการสร้างการนำไปใช้อย่างเป็นระเบียบแบบแผน ประกอบไปด้วยสิ่งของ 8 สิ่ง คือ ฉัตร 7 ชั้น, ฉัตร 5 ชั้น, ชุมสาย, บังแทรก, จามร, กลด, บังสูรย์ และพัดโบก และแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ เครื่องสูงปักหักทองขวาง และเครื่องสูงทองแผ่ลวด โดยในการนำไปใช้จะมีการกำหนดตำแหน่งของเครื่องสูงแต่ละอย่างอยู่ชัดเจน และเรียกเครื่องสูงที่อยู่ด้านหน้าพาหนะทรงว่าเครื่องสูงหน้า และเรียกเครื่องสูงที่อยู่ต่อจากพาหนะทรงว่า เครื่องสูงหลัง ส่วนวิธีการเดินของผู้เชิญเครื่องสูงนั้นใช้วิธีการเดินตามจังหวะท่วงทำนอง เพลงที่ใช้บรรเลง
เครื่องสูงในการแสดงโขนมีปรากฏครบเช่นเดียวกับเครื่องสูงในพระราชพิธี แต่มีการปรับเปลี่ยนวัสดุ ขนาด และการนำไปใช้ที่แตกต่างจากเครื่องสูงในพระราชพิธี โดยในการแสดงโขนสามารถแบ่งได้เป็นการนำไปใช้แบบหมู่ และเดี่ยว แบบหมู่ตามงานวิจัยฉบับนี้ คือ ในการแสดงโขนหน้าจอ ตอนกระบวนพระอินทร์แปลง จะมีการใช้เครื่องสูง ดังนี้ ฉัตร 7 ชั้น, ฉัตร 5 ชั้น, ชุมสาย, บังแทรก หรือ จามร, บังสูรย์ และพัดโบก รวม 6 รายการ ส่วนจำนวนนั้นสามารถปรับเพิ่มหรือลด ได้ตามปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงเช่น ขนาดของเวที จำนวนผู้แสดง เป็นต้น ส่วนท่าทางของผู้ถือเครื่องสูงแบบหมู่นี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ การย่ำเท้า การเก้าเท้าชิดสลับซ้ายขวา และ การเดินอย่างอิสระตามธรรมชาติ
เครื่องสูงที่ใช้ประกอบการแสดงโขนหน้าจอ แบบเดี่ยว ซึ่งในงานวิจัยฉบับนี้หมายถึง การออกกราวตรวจพล ในตอน ตรวจพล (ตัวยักษ์) ฉากที่ 3 ปรากฏการเครื่องสูงเพียง 1 รายการ คือ กลด ซึ่งในการแสดงโขนหน้าจอ ตอน ตรวจพล (ตัวยักษ์) ฉากที่ 3 นี้ ใช้กลดสีแดง ส่วนท่าทางของผู้กางกลดนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่มีความคล้าย และลักษณะที่มีความต่างโดยไม่เหมือนกับผู้แสดงตัวเอก ซึ่งผู้กางกลดจะแสดงท่าทางที่มีความสัมพันธ์ สอดคล้องกันกับผู้แสดงตัวเอก
อัตลักษณ์ผู้ถือเครื่องสูงแบบหมู่ คือ จะต้องเป็นผู้ที่มีความแข็งแรง เนื่องจากเครื่องสูงมีน้ำหนักมาก และต้องถืออยู่เป็นเวลานาน ใช้ความอดทน นอกจากนี้ยังต้องรู้จักการยอมรับซึ่งกันและกัน สำหรับการถือเครื่องสูงแบบหมู่ผู้จะแสดงจะต้องมีการปรับตนเอง และอุปกรณ์ให้เหมือนกันกับผู้อื่น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ในเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น และสำหรับการถือเครื่องสูงแบบเดี่ยว ผู้แสดงจะต้องเป็นผู้ที่มีปฏิภาณไหวพริบ และฝึกหัดเรียนรู้ความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
คำสำคัญ: เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ , เครื่องสูง , โขนหน้าจอ , กลด
Abstract
The primary objective of this thesis is to study a history and usage of Thailand’s royal regalia specifically on umbrellas of state, occupied in a royal ceremony and also a traditional performance called “Khon”. The research focuses on Khon’s dance gestures and patterns; both as an individual and a group, in a presence of the specified royal objects. Additionally, the study is conducted by using a qualitative research process obtaining information from relevant books and previous researches, interviewing subject matter experts, observing and taking pictures.
The research illustrates a long history of Thailand’s royal regalia which symbolizes prestige of a king and royal family’s members. The umbrellas of state are deliberately used in precise patterns. They consists of 8 items; a seven-tiered umbrella (Chatra), a five-tiered umbrella, (Chumsai), sunshades (Bangsoon and Bangsaek), a whip of yak hair (Chamorn), a long-handled umbrella (Klod), and a palm leaf fan (Phatbok). Furthermore, they can be categorized into 2 groups; golden silk-weaved umbrellas (Hakthongkwang) and carved-colored paper - patched umbrellas (Thongpaeluad). Each item is placed in a designated position. The ones in front of a royal vehicle are called the “Front Umbrellas”, whereas the others behind the vehicle are called the “Rear Umbrellas”. In addition, umbrellas’ carriers are regulated to move in accordance with rhythms of music being played.
The umbrellas of state occupied in Khon resemble what are used in a royal ceremony. However, there are small changes in materials, sizes and practices. In a group performance of Khon, especially in “Khon Na Chor” called “the Parade of the Disguised Indra” episode, 6 royal objects are used, which includes a seven-tiered umbrella, a five-tiered umbrella, Chumsai, Bangsoon, Bangsaek or Chamorn, and Phatbok. The number of items may be varied due to many factors such as a stage’s size and number of performers. In addition, 3 particular dance gestures are performed; marching, step touch, and normal walking.
On the other hand, in “Khon Na Chor” individual performance called “Inspection of Army (Giant)” episode Act 3, there is only 1 royal item presented – Klod, which is red in this particular show. A carrier of the red Klod may dance similarly to or differently from a main actor, depending on circumstances. However, in this act the carrier have to dance relevantly to the main actor’s gestures. Thus, the carrier is required to be very intelligent and able to be a good leader as well as a follower.
Keyword:
Regalia , Umbrellas of State , Khon Na Chor , Klod
เครื่องประกอบพระราชอิสริยยศ , เครื่องสูง , โขนหน้าจอ , กลด