การศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนจ่าอากาศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนจ่าอากาศและความคิดเห็นของนักเรียนจ่าอากาศ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของนักเรียนและการปฏิบัติของครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูโรงเรียนจ่าอากาศจำนวน 40 คนจำแนกตามระดับชั้นยศและนักเรียนจ่าอากาศ จำนวน 265 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสำหรับครู และ2) แบบสอบถามสำหรับนักเรียน ซึ่งทั้ง 2 ฉบับมี ความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหา ระหว่าง 0.60-1.00 แบบสอบถามสำหรับครูและนักเรียนมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 และ 0.93 ตามลำดับผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่าที (t-test independent)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูระดับนายทหารชั้นประทวนกับชั้นสัญญาบัตรมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ ในระดับปานกลาง และสอดคล้องกัน สำหรับนักเรียนจ่าอากาศชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่2 มีความคิดเห็นต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ ของครูในระดับปานกลาง และสอดคล้องกัน 2) ครูระดับนายทหารชั้นประทวนกับชั้นสัญญาบัตร มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ 0.05 สำหรับนักเรียนจ่าอากาศ ชั้นปีที่ 1และชั้นปีที่ 2 มีความคิดเห็นต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ ของครูไม่แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ 0.05 และครูกับนักเรียนจ่าอากาศมีความคิดเห็นเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนรู้ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ 0.05 ยกเว้นด้านการวัดและประเมินผล แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ภาพ ตาราง กราฟ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนไม่ผูกพันกับสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และทางวิชาการแต่อย่างใดReferences
กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ, โรงเรียนจ่าอากาศ. (2557). หลักสูตรโรงเรียนจ่าอากาศ พุทธศักราช 2557. กรุงเทพฯ:กองทัพอากาศ.
______. (2561). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษากลาโหม ประจำปีการศึกษา 2561. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2563, จาก http://www.atts.rtaf.mi.th/images/QA_atts/_61.pdf
กองทัพอากาศ. (2563). นโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ ประจำปีพุทธศักราช 2563. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2563,จาก http://ratfaqa.org/images/colum_1485851725/19484_Policy%20Rtaf%202563%20Final-1.pdf
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2559). การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 13(61), 11-20.
ติณณา อภิวัณทนาพร. (2561). การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต. ปทุมธานี .
นิทัศน์ กลัดแก้ว. (2559). การนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดอ่างทอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. ปทุมธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พชตวรรณ พัฒทุม. (2555). ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในสังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี .
“พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542” (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 2. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2562, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/A/074/1.PDF
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.),Attitude Theory and Measurement (p.90-95). New York: Wiley & Son.