Edtech เทรนด์การศึกษายุคใหม่: การนำมาใช้ลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาท่ามกลางปัญหาช่องว่างทางดิจิทัล

Main Article Content

สิริมาส จันทน์แดง

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง Edtech เทรนด์การศึกษายุคใหม่: การนำมาใช้ลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ท่ามกลางปัญหาช่องว่างทางดิจิทัล มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคของแนวคิดในการนำเทคโนโลยีด้านการศึกษาหรือที่เรียกว่า Edtech เข้ามาแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศไทย พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการจัดการกับปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว นั่นคือ “ช่องว่างทางดิจิทัล” อันมีที่มาจากความแตกต่างทางฐานะความเป็นอยู่ และความห่างไกลจากความเจริญของเด็กนักเรียนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งส่งผลให้ศักยภาพในการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งรวมถึง Edtech ของเด็กนักเรียนแต่ละคนไม่เท่ากัน ดังนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงต้องมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน มูลนิธิ สมาคม และกองทุนต่าง ๆ ด้วยความจริงใจที่จะสนับสนุนการลดช่องว่างทางดิจิทัลในสังคมไทย โดยการสร้างความพร้อมสิ่งต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ได้แก่ 1) โครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ระบบไฟฟ้า ระบบอินเทอร์เน็ต และระบบโทรคมนาคม 2) อุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ต 3) ทักษะการใช้งานระบบ ซึ่งจะเป็นการเปิดทางให้ Edtech เข้ามามาลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Article)

References

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2564). กสศ.- ธนาคารโลก ห่วงปัญหาความเหลื่อมล้ำการศึกษาพุ่งชี้ต้องเร่งยกระดับคุณภาพ รร.อย่างทั่วถึงและมีมาตรการพิเศษ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.eef.or.th/news-eef-world-bank-raise-the-quality-of-the-school/

คาฮูท (kahoot) เกมทดสอบความรู้. (2563). สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2564, จาก http://www.thaiall.com/quiz/kahoot/

คิดเห็นแชร์: นโยบายการเข้าถึงระบบไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกล (เกาะ,ดอย) ประเทศไทยควรทำอะไรบ้าง? โดย ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร. (2563, 15 สิงหาคม). มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.matichon.co.th/economy/news_2307393

จีรณา น้อยมณี , ณัฐฐา สักกะวงศ์, ณัฐวัฒน์ วรสิทธิ์ตระกูล และณัฐกิตติ์ จิตรเอื้อตระกูล. (2563). AI Government Framework. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน).

จุธาทิพย์ จิตต์เจริญ. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการค้าปลีกของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3/1 สาขาวิชาการตลาดโดยใช้วิดีโอช่วยสอน “รายการ SME ตีแตก” (งานวิจัยในชั้นเรียน วิทยาลัยเทคโนโลยีอักษรบริหารธุรกิจ จังหวัดระยอง).

ณรัณภัสสร์ ฐิติพัทธกุล. (2563). Edtech ปฏิรูปความเหลื่อมล้ำได้จริงหรือ?? กรณีศึกษาจากประเทศอาร์มีเนีย ประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำมากกว่าไทยถึง 10 เท่า. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.disruptignite.com/blog/dasaranedtech

นรรัชต์ ฝันเชียร . (2562). การจัดการศึกษาแบบห้องเรียนเสมือน. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2564, จาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/76903/-teaartedu-teaart-teamet-

_______. (2563). Edtech ธุรกิจใหม่ของการเรียนรู้ในช่วง COVID-19. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/84365/-teaartedu-teaart-

ปิยะธิดา ปรางค์โคกกรวด. (2564). Education Technology (Edtech). สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.lib.ku.ac.th/2019/index.php/research-support/info-deedee/1387-edtech

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2560). ทักษะ 7C ของครู 4.0. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรัตต์ อินทสระ. (2562). Game Based Learning-The Latest Trend Education 2019-เปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้องเล่น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). EdTech นวัตกรรมนำเทรนด์ การศึกษาโลก. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2564, จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Ed-Tech-06-07-21.aspx

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2564 (ไตรมาส 2).กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

เอ็นไอเอ หนุน 'เอ็ดเทค' ลดความเหลื่อมล้ำการศึกษาไทย . (2564, 25 มิถุนายน). กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2564,เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/tech/945325

Barron, S. (2020). What Is a Virtual Classroom?. Retrieved November 22, 2021 from https://resources.owllabs.com/blog/virtual-classroom

Hilbert, M. (2011). The end justifies the definition: The manifold outlooks on the digital divide and their practical usefulness for policy-making. Telecommunications Policy, 35(8), 715-736.

Simplilearn. (2021). What is Blockchain Technology and How Does It Work?. Retrieved November 22, 2021,from https://www.simplilearn.com/tutorials/blockchain-tutorial/blockchain-technology#what_is_blockchain_technology

Siwaporn Linthaluek. (2563). แนะนำการใช้งาน Zoom ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2564, จากhttps://www.youtube.com/watch?v=QJ9IIHrwSKE&ab_channel=SIWAPORNLINTHALUEK

Video-Assisted Learning: Worth a Million Words. (2020). retrivevd December 22, 2021 from https://myviewboard.com/blog/education/video-assisted-learning/