การพัฒนากรอบการกำกับดูแลและบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับบริบทของกองบัญชาการกองทัพไทย

Main Article Content

สุนทรี จำเริญ
วศิณ ชูประยูร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาในการกำกับดููแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของกองบัญชาการกองทัพไทย 2) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพปัญหากับความต้องการในการพัฒนากรอบการกำกับดูแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศตามมาตรฐาน COBIT 2019 และ 3) พัฒนากรอบการกำกับดูแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมกับบริบทของกองบัญชาการกองทัพไทย เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้กรอบมาตรฐาน COBIT 2019 เป็นแนวคิดหลักในการออกแบบการวิจัย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกำลังพลของกองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 350 คน ได้รับแบบสอบถามกลับคืน ร้อยละ 100 และสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของกองบัญชาการกองทัพไทย สถิติที่่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ 1) สถิติพรรณนา (การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และ 2) สถิติอ้างอิง (การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อจำแนกความคิดเห็นต่างและความคิดเห็นเหมือนในแต่ละประเด็น


ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่พบเกี่ยวกับการกำกับดูแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับมาก คือ ปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจในกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และความร่วมมือในการปฏิบัติงานตามแนวทางในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลและระบบสารสนเทศอย่างเข้มงวดจริงจัง ในด้านความต้องการมาตรฐานการกำกับดููแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่พบว่า อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความต้องการ ด้านการประเมิน สั่งการ และเฝ้าติดตาม การจัดวางแนว การจัดทำแผน การจัดทำระบบ การส่งมอบ การบริการ และการสนับสนุน การสร้าง การจัดหา การนำไปใช้ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า สภาพปัญหาในการกำกับดููแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มีอิทธิพลต่อความต้องการกรอบการกำกับดููแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศตามมาตรฐาน COBIT 2019 ของกองบัญชาการกองทัพไทย มีขนาดอิทธิพล (R2) อยู่ระหว่าง 0.025-0.231 ทำให้ได้สมการอิทธิพล จำนวน 80 สมการ สมการที่มีขนาดอิทธิพลสูงสุด คือ สมการว่าด้วยการประกาศใช้หลักจริยธรรมด้านไอที (Code of IT Ethics) การมีค่าใช้จ่ายด้านไอทีไม่สอดคล้องกับกระบวนการทำงานของหน่วยงาน การแก้ไขข้อร้องเรียนจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศล่าช้า และการเชื่อมต่อสัญญาณระบบเครือข่ายในองค์กรมีเสถียรภาพน้อย ซึ่งตัวแปรดังกล่าวมีอิทธิพลทำให้การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านส่งมอบบริการและสนับสนุน ในกระบวนการบริหารจัดการบริการความมั่นคงปลอดภัย เพิ่มขึ้นและลดลง ณ ขนาดอิทธิพล (R2) เท่ากับ 0.231 โดยผู้วิจัยได้เสนอข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาในอนาคต ดังนี้ 1) ควรศึกษาเพิ่มเติมว่าการดำเนินการตามกรอบการกำกับดููแลเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ COBIT 2019 จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อให้บรรลุุเป้าหมายของกองบัญชาการกองทัพไทยหรือไม่และอย่างไร 2) ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในระดับกรมภายในกองบัญชาการกองทัพไทยเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการและนำมาตรฐาน COBIT 2019 ไปใช้อย่างเหมาะสมสำหรับการกำกับดูแลและการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับองค์กร และ 3) การศึกษาเพิ่มเติมควรเน้นที่ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้้เกิดปัญหาในการกำกับดูแลและการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และควรศึกษาวิธีการกำหนดการวัดผลในอนาคตเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมกำลังพลทหาร. (2563). หนังสือบันทึกข้อความขอความอนุเคราะห์ข้อมูลยอดกำลังพลของกองบัญชาการกองทัพไทย (พื้นที่แจ้งวัฒนะ) เพื่อใช้ในการทำวิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: กองบัญชาการกองทัพไทย.

Ahsan, A. (2010). The rise and fall of R & D center's ‘Quality Management Department’ of a major ICT Based Chinese Organization in Pakistan: An exploratory, explanatory and analytical case study of core reason of rise and fall and corresponding soft benefits and dis-benefits for the overall organization. In Proceedings of the 2010 IEEE 17Th International Conference on Industrial Engineering and Engineering Management (p.903-910). China: Xiamen

Franc, G. (2021). COBIT 2019-Review of the Framework and its Major Concepts. Retrieved from https://www.linkedin.com/pulse/cobit-2019-review-framework-its-major-concepts-gr%C3%A9gory-franc

Krejcie, R. V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Montequin, V. R., Counsillas, S., Ortega, F., & Villanueva, J. (2014). Analysis of the Success Factors and Failure Causes in Information & Communication Technology (ICT) Projects in Spain. Procedia Technology, 16, Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2212017314002801

Whittaker, B. (1999). What went wrong? Unsuccessful information technology projects. Journal of the Information Management and Computer Security, 7(1), 23-29