การจัดการเรียนรู้ในยุคโควิด-19 และสมรรถนะของผู้เข้ารับการศึกษาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเหล่าของกองทัพบก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ที่กระทบต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเหล่าของกองทัพบก 2) ความสัมพันธ์ของการจัดการเรียนรู้ในยุคโควิด-19 ที่กระทบต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเหล่าของกองทัพบก และ 3) สมรรถนะของผู้เข้ารับการศึกษาที่กระทบต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเหล่าของกองทัพบก โดยใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสาน เริ่มต้นจากการวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเหล่าของกองทัพบก จำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t-test, F-test และ Multiple Regression Analysis และนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลไปศึกษาอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเมื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ผู้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเหล่าของกองทัพบกที่มีผลสัมฤทธิ์แตกต่างกัน จะมีปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ ชั้นยศ ระดับการศึกษาทางพลเรือน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานศึกษาของกองทัพบก เหล่า หลักสูตรการศึกษาที่แตกต่างกันส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเหล่าของกองทัพบกมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 2) การจัดการเรียนรู้ในยุคโควิด-19 กับผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเหล่าของกองทัพบก
เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านข้าราชการทหารที่ทำหน้าที่สอน และบุคลากรทางการศึกษา และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 3) สมรรถนะของผู้เข้ารับการศึกษากับผลสัมฤทธิ์ของผู้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนเหล่าของกองทัพบก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความฉลาดทางเชาว์ปัญญา และด้านความฉลาดทางสังคม มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ภาพ ตาราง กราฟ ข้อเขียน หรือความคิดเห็นในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนไม่ผูกพันกับสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ และทางวิชาการแต่อย่างใดReferences
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). รููปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19.
ฐานวัฒน์ พุฒิบูลย์วุฒิ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจ่าอากาศในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ โรงเรียนจ่าอากาศ พุทธศักราช 2548 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในระดับปริญญาโท ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ปีการศึกษา 2554 (งานวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ประณีต เจริญวาศน์. (2555). การจัดกิจกรรมการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องแรง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กรณีศึกษา : โรงเรียนพระพรหมพิทยานุสรณ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
พิชญาภา ยืนยาว. (2560). ปัจจัยความฉลาดที่ส่งผลต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
พิชญ์ภัชกัญจน์ ปานเผือก. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา : ศึกษาเฉพาะกรณี นักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพิชญ์กฤตา พักโพธิ์เย็น. (2560). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สุวัฒน์ บันลือ, และขนิษฐา อินทะแสง. (2563). ประสิทธิภาพระบบตรวจสอบการเข้าชั้นเรียนด้วยภาพใบหน้าโดยใช้เทคนิคแอลบีพี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด, 14(1), 147-158. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/reru/article/download/209353/164361/834672
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.