การพัฒนาศักยภาพกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาของจังหวัดตาก พ.ศ. 2566 – 2570 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

Main Article Content

ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์
ดำเกิง อัศวสุนทรางกูร
ศุภวรรณ ทองแท้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารวบรวมสภาพทั่วไป ประเด็นปัญหา และสถานการณ์การพัฒนาจังหวัดตาก 2) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดตาก 3) เพื่อนำเสนอเป้าหมายและประเด็นการพัฒนาของจังหวัดตาก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 คน ที่อยู่ในคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดตาก จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือคือที่ใช้คือการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์เชิงคุณภาพตามหลักตรรกศาสตร์ ตามวัตถุประสงค์การวิจัย และกรอบแนวคิด ผลการศึกษาพบว่า 1) จังหวัดตากมีศักยภาพของพื้นที่ที่เชื่อมโยงเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ EWEC และ NSEC จึงเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ด้านการค้า การลงทุน ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดและมูลค่าการค้าชายแดนเพิ่มขึ้น 2) จังหวัดตากมีจุดแข็งในด้านศักยภาพด้านพื้นที่ชายแดนที่เป็นฐานการค้าชายแดนและตั้งอยู่บนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทรัพยากรธรรมชาติที่สวยงาม ส่วนจุดอ่อนสำคัญของจังหวัด คือ โครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการยังไม่ครอบคลุม และ 3) เป้าหมายและประเด็นการพัฒนา จังหวัดตากให้ความสำคัญและมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางควบคู่ไปกับการพัฒนามิติด้านอื่น ๆ สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยกำหนดว่า ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าทางเกษตร และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว ธุรกิจบริการ และการค้าการลงทุนในพื้นที่

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกรัณย์ ชีวะตระกุลพงษ์ และคณะ. (2558). แนวทางและมาตรการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษพื้นที่ชายแดน.นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.

ณัฏฐา ไชยภักดี. (2562). กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดจังหวัดหนองบัวลำภู พ.ศ. 2561-2565 (การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธีรวี ทองเจือ และปรีดี ทุมเมฆ. (2560). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21: มิติด้านการศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(3), 389-403.

นพพล อัคฮาด. (2555). ปัญหาการจัดการท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เมืองการค้าชายแดน: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลท่าสายลวดและเทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารสหวิทยาการวิจัย ฉบับบัณฑิตศึกษา, 1(2), 112-122.

บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ และปธาน สุวรรณมงคล. (2564). แผนพัฒนาจังหวัด. ค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2563, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=แผนพัฒนาจังหวัด#cite_note-1

พีรพงศ์ กนกเลิศวงศ์. (2562). แผนพัฒนาและยุทธศาสตร์ชุมชนอำเภอเมืองตาก เพื่อพัฒนาสภาวะเศรษฐกิจความเป็นอยู่และสังคมของชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 9(1), 98-106.

มีชัย วงษ์อูบ และธีร์วิสิฐ มูลงามกูลจ์. (2558). แนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของประชาชนในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ (Proceedings) เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 15, 23 กรกฎาคม 2558, 205-217.

สถาบันดำรงราชานุภาพ. (2554). เทคนิคงานแผนพัฒนาจังหวัด. กรุงเทพฯ: สถาบันดำรงราชานุภาพ.

สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดตาก. (2563). แผนงานพัฒนาเกษตรกรรมอำเภอเมืองตาก/ตำบลแม่ท้อ พ.ศ. 2563 – 2566. ตาก: สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดตาก.

หริรักษ์ จันทิมะ และคเชนทร์ วัฒนะโกศล. (2563). แนวทางเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ และอำเภอแม่ระมาด เพื่อรองรับการขยายตัวของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เขตเศรษฐกิจพิเศษ “นครแม่สอด”. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 13(1), 99-117.