ความดึงดูดใจของไทยต่อการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่น ในช่วงปี พ.ศ. 2556 – 2562

Main Article Content

ศลิษฏ์ แพรวัฒนะสุข
ทิพรัตน์ บุบผะศิริ
จักรี ไชยพินิจ
เกรียงชัย ปึงประวัติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเมืองไทยกับการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นในช่วงตั้งแต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 16 กรกฎาคม
พ.ศ. 2562 2) เพื่อศึกษา Soft Power ของไทยกับดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่น ในช่วงตั้งแต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562  และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้บริหารบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 2-30 ล้านบาท และมีการจดทะเบียนก่อตั้งและขยายฐานธุรกิจในช่วงนี้ จำนวน 8 ราย โดยคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือการสัมภาษณ์
เชิงลึก ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และการวิจัยเอกสาร ทั้งจากตำราวิชาการ บทความที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์ร่วมกัน ใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบแล้วจึงนำเสนอข้อมูลการวิจัยในเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพทางการเมืองของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นการบริหารโดยรัฐบาลทหาร
หรือรัฐบาลพลเรือน นโยบายและแนวทางส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลง จึงส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่น 2) Soft Power ของไทยทั้ง 3 ด้าน วัฒนธรรม การเมืองภายในประเทศ และนโยบายต่างประเทศ มีผลดีต่อการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่น 3) แนวทางการส่งเสริมการลงทุน ได้แก่ การลดขั้นตอนหรือการช่วยอำนวยความสะดวกเรื่องของ Visa, Work Permit การบริหารจัดการการทำงานและอนุญาตให้ทำงานของคนต่างชาติ และการปรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีประเภทต่าง ๆ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2562). ประธานเจโทร กรุงเทพ ชี้นักลงทุนญี่ปุ่นยังมั่นใจลงทุนในไทย. ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/832884

ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2560). การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไชยวัฒน์ ค้ำชู และ นิธิ เนื่องจำนงค์. (2559). การเมืองเปรียบเทียบ ทฤษฎี แนวคิด และกรณีศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐานเศรษฐกิจ. (2559). GDPของประเทศญี่ปุ่น.ค้นเมื่อ 12 มกราคม 2563, จาก https://www.thansettakij.com/ content/37006

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ. ค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/ReportPage.aspx?reportID=653&language=th

บงกช อนุโรจน์. (2556). บาทแข็ง เยนอ่อน ญี่ปุ่นจะไม่ลงทุนในไทยแล้วหรือ?: มุมมองจากผู้ดำหนดนโยบาย.วารสารญี่ปุ่นศึกษา, 30(2), 1-21.

พีระ เจริญวัฒนนุกูล. (2561). พินิจแนวคิด Soft Power อย่างจริงจัง: ปัญหาและความเข้าใจผิดในการประยุกต์ใช้แนวคิดนี้ในงานวิชาการไทย. วารสารรัฐศาสตร์นิเทศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 1(2), 247-257.

รพีพัฒน์ อิงคสิทธิ์. (2563). ประชาธิปไตยหรือเผด็จการ ระบอบไหนพาเศรษฐกิจไปได้ไกลกว่า?. ค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2564, จาก https://themomentum.co/democracy-or-dictator-economic-growth/

วีระ สมบูรณ์. (2551). โลกาภิวัตน์ สิทธิมนุษยชนและความเป็นธรรมระหว่างประเทศ: ประเด็นและมุมมองทางทฤษฎีการเมือง. กรุงเทพฯ: กรีน พริ้น.

สมบัติ วรินทรนุวัตร. (2555). มุมมองจากการสำรวจข้อมูลในโครงการการศึกษาสถานภาพและแนวโน้มการย้ายฐานธุรกิจของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นมายังประเทศไทย. สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI). ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2564, จาก https://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/58/ContentFile1056.pdf

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2563). แนะนำบีโอไอ. ค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2563, จาก https://www.boi.go.th/index.php?page=what_we_do2

โสภณ วิจิตรเมธาวณิชย์. (2557). Foreign Direct Investment: FDI. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2561, จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/853

อธิภัทร มุทิตาเจริญ. (2559). สิทธิประโยชน์ทางภาษี และการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ. ค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2562, จาก https://thaipublica.org/2017/05/pier-20/

อารีย์ นัยพินิจ ภัทรพงษ์ เกริกสกุล และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2557). การปรับตัวภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา, 7(1), 1-12.

อรทัย เลิศวรรณวิทย์ และณักษ์ กุลิสร์. (2551). ธุรกิจระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ: Diamond In Business World.

Graeme B. R.and Emmanuel Teitelbaum. (2011). Foreign Direct Investment, Regime Type and Labor Protest in Developing Countries. American Journal of Political Science, 55(3), 655-678.

Macdonald A. (2017). Soft power today: Measuring the effects. Retrieved May 5, 2021, from https://www.britishcouncil.org/research-policy-insight/insight-articles/soft-power-today

McClory J. (2019). The Soft Power 30: A Global Ranking of Soft Power 2019. Retrieved May 5, 2021, from https://softpower30.com/wpcontent/uploads/2019/10/The-Soft-Power-30-Report-2019-1.pdf

Nye, J.R., Joseph S. (2011). The Future of Power, Belfer Center Programs or Projects, International Security, Retrieved March 4, 2019, from https://www.belfercenter.org/publication/joseph-s-nyes-future-power

Nye, J.S. (2021). Soft power: the evolution of a concept. Journal of Political Power, 14(1), 196-208.

prop2morrow.com. (2564). รัฐอัดยาแรง หวังฟื้นเศรษฐกิจ ดึงนักลงทุนต่างชาติเข้าไทย คาดเงินหมุนเวียน 1 ล้านล้านบาท. ค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2564, จาก https://prop2morrow.com/2021/09/15/รัฐอัดยาแรง-หวังฟื้นเศรษฐกิจ-ดึงนักลงทุนต่างชาติเข้าไทย-คาดเงินหมุนเวียน-1-ล้านล้านบาท/

Reiser, O. & Davies, B. (1944). Planetary Democracy. New York: Creative Edge Press.