พฤติกรรมการบริโภคข้าวออร์แกนิคของผู้บริโภคในเขตมีนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการบริโภคข้าวออร์แกนิคของผู้บริโภคในเขตมีนบุรี 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการบริโภคข้าวออร์แกนิคของผู้บริโภคในเขตมีนบุรี 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคข้าวออร์แกนิคของผู้บริโภคในเขตมีนบุรีจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล 4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคข้าวออร์แกนิคของผู้บริโภคในเขตมีนบุรี การศึกษางานวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ และข้อมูลที่รวบรวมได้ประมวลผลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test การวิเคราะห์แบบ ANOVA ใช้ F-test , One-way ANOVA, Correlation และMultiple Regression Analysis
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการบริโภคข้าวออร์แกนิค พบว่าส่วนมากนิยมบริโภคข้าวหอมมะลิ เหตุผลที่เลือกบริโภคข้าวออร์แกนิคเพราะดีต่อสุขภาพ ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับข้าวออร์แกนิคจากผู้จัดจำหน่ายข้าว ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจบริโภคข้าวออร์แกนิคคือตัวเอง เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวออร์แกนิคที่จากร้านขายข้าวสาร 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของพฤติกรรมการบริโภคข้าวออร์แกนิคของผู้บริโภคข้าวในเขตมีนบุรี ภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญมากที่สุด เรียงลำดับความสำคัญดังนี้ด้านผลิตภัณฑ์ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการให้บริการ และด้านราคา 3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการบริโภคข้าวออร์แกนิคแตกต่างกัน ไม่เป็นไปตามสมมติฐาน4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านส่งเสริมการตลาด (Sig = 0.002) มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการบริโภคข้าวออร์แกนิค ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Article Details
References
กานต์กนิษฐ์ สุวิสุทธะกุล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในร้าน Multi-Label Store แทนการซื้อผ่านช่องทาง Instagram (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธนกฤต วันต๊ะเมล์. (2554).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้ในการสื่อสารการตลาด (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธนิดา ภูศรี และชนม์ณัฐชา กังวานศุภพันธุ์. (2563). พฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดสุรินทร์.วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร,4(1), 1-13.
ธนวัฒน์ ศรีติสาร.(2561).ห่วงโซ่อุปทานการผลิตข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชันออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.
ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค (Consumer Behavior). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
พรรณภัทร มะกรูดทอง และยุรพร ศุทธรัตน์. (2564). พฤติกรรมการบริโภคและการตัดสินใจซื้ออาหารออร์แกนิคของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(2), 48-61.
วรัญญา ทิพย์มณฑา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อข้าวสารกล้องบรรจุถุงของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุปัญญา ไชยชาญ. (2550). การบริหารการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
สุวัฒน์ ศิรินิรันดร์ และภาวนา สวนพลู. (2552). นโยบายองค์กร: ที่มาและวิธีนำสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท.
อารยา บูรณะกูล และคณะ. (2562). การตัดสินใจซื้อข้าวออร์แกนิคของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 2(2), 109-116.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: Wiley & Sons.