The system and learning mechanisms of health promotion organizations at the national level

ระบบและกลไกสร้างการเรียนรู้ระดับนานาชาติขององค์กรสร้างเสริมสุขภาพ

Authors

  • Sirothorn Laibangping

Keywords:

health promotion, VicHealth, VHAI, South Africa, capacity building

Abstract

ระบบการเสริมสร้างความสามารถในระบบและกลไกสร้างการเรียนรู้ในระดับนานาชาติขององค์กรสุขภาวะเป็นแนวทางที่สำคัญในการเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงเอกสารร่วมกับการกำหนดเกณฑ์การเลือกกรณีศึกษาและประชุมผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเลือกกรณีศึกษา 3 กรณี คือ  VicHealth (ออสเตรเลีย) VHAI (อินเดีย) Health Promotion South Africa (อาฟริกาใต้) ภายใต้กรอบการพัฒนาขีดความสามารถด้านการสร้างเสริมสุขภาพ 4 ด้าน ผลการศึกษาพบว่าระบบกลไกทั้งสามแห่งมีหลากหลายรูปแบบผสมผสานกัน อันเนื่องมาจากบริบทแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมอันเป็นผลจากการพัฒนาแตกต่างกันทำให้กลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างขีดความสามารถแตกต่างกัน กรณี VicHealth มีความโดดเด่นในเวทีสุขภาพโลกและเป็นต้นแบบให้กับการสร้างเสริมสุขภาพในหลายๆ ประเทศ ทำให้องค์การอนามัยโลกแต่งตั้งให้ VicHealth เป็นศูนย์ประสานงานภาวะการนำด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การดำเนินงานเสริมสร้างขีดความสามารถในระดับนานาชาติของ VicHealth มีความโดดเด่นค่อนข้างมากผ่าน 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางสร้างพันธมิตร แนวทางจากล่างขึ้นบน และแนวทางแบบผสมผสาน  กรณี VHAI เป็นองค์กรภาคประชาสังคมที่มีเครือข่ายด้านสุขภาพและการพัฒนาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีแนวทางการเสริมสร้างขีดความสามารถที่มีความโดดเด่นในการเสริมสร้างขีดความสามารถองค์กรจากบนลงล่างคือเข้าไปให้การศึกษา และพยายามปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงาน รวมไปถึงการพยายามปรับเปลี่ยนบรรทัดฐานของสังคมให้เปิดกว้าง และมีความเป็นสากลมากขึ้น  อีกทั้งVHAI ยังมีความโดดเด่นทางด้านการสร้างพันธมิตร โดยองค์กรเครือข่ายสุขภาพราว 4,500 แห่ง ทั่วประเทศอินเดีย เครือข่ายด้านสุขภาพและการพัฒนาสุขภาพทั่วอินเดีย  และกรณี Health Promotion South Africa ยังคงต้องอาศัยการสนับสนุน และความร่วมมือจากองค์กรระหว่างประเทศในการเข้ามาช่วยสร้างเสริมขีดความสามารถให้กับองค์กร และประชาชน เนื่องจากการทำงานด้านสร้างเสริมสุขภาพในแอฟริกายังคงขาดแคลนในด้านทรัพยากรบุคคลทำให้การสร้างเสริมสุขภาพในแอฟริกาใต้ยังเข้าไม่ถึงชุมชนและไม่ครอบคลุมในทุกพื้นที่หรือกล่าวได้ว่าการสร้างเสริมสุขภาพในแอฟริกาใต้ไม่ประสบความสำเร็จนัก ดังนั้นสำหรับประเทศไทยศูนย์การเรียนรู้ระดับนานาชาติด้านการสร้างเสริมสุขภาพสามารถมีบทบาทได้ 2 รูปแบบ คือ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและหรือกำหนดวาระการขับเคลื่อนประเด็นว่าด้วยการสร้างเสริมสุขภาพ

 

References

Boboko, I., Bester, P., Kruger, I., Marais, S., & Marais, F. (2022). Health Promotion Workforce in South Africa: Direction from the Australian Health Promotion Association. Health Promotion Journal of Australia: Official Journal of Australian Association of Health Promotion Professionals. https://doi.org/10.1002/hpja.622

Crisp, B. R., Swerissen, H., & Duckett, S. J. (2000). Four approaches to capacity building in health: Consequences for measurement and accountability. Health Promotion International, 15(2), 99–107. https://doi.org/10.1093/heapro/15.2.99

Kapur, S. (1996). HIV / AIDS control programme: Lessons from the VHAI-EC joint initiative. Health for the Millions, 22(6), 8–10.

Khurana, S., Sharma, N., Jena, S., Saha, R., & Ingle, G. K. (2004). Mental health status of runaway adolescents. Indian Journal of Pediatrics, 71(5), 405–409. https://doi.org/10.1007/BF02725627

Macrotrends. India Population 1950-2022. Retrieved from https://www.macrotrends.net/countries/

IND/india /population#:

Metzler, M., Nyamongo, M., Mukhopadhyay, A., & De Salazar, L. (2007). Community Interventions on Social Determinants of Health. In Global Perspectives on Health Promotion Effectiveness (pp. 225–245). https://doi.org/10.1007/978-0-387-70974-1_14

Mukhopadhyay, A., & Sehgal, P. N. (1995). Country watch: India. AIDS/STD Health Promotion Exchange, (1), 8–9.

VicHealth. (2016a). Behavioural insights and healthier lives VicHealth’s inaugural Leading Thinkers residency: A report by David Halpern. Melbourne: VicHealth.

VicHealth. (2016b). Victoria’s Citizens’ Jury on Obesity insights report (p. 15). Melbourne. Retrieved from http://www.vichealth.vic.gov.au/media-and-resources/publications/victorias-citizens-jury-on-obesity-insights-report

WHO, & VHAI. (2016). Involving communities in diseases elimination programme under SDGs in South East Asia. Retrieved from https://vhai.org/publications/publications-in-

WHO. (2013). Regional consultation of NGOs and civil society on the post-2015 health development agenda. WHO Regional Office for South-East Asia. Retrieved from https://apps.who.int/iris/handle/10665/205741

World Health Organization. Regional Office for Africa. (2016). WHO Country Cooperation Strategy 2016-2020: South Africa. World Health Organization Regional Office for Africa. Retrieved from https://apps.who.int/iris/handle/10665/255007

Downloads

Published

31-12-2023