การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างแบบจำลอง รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องแสง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวทาง สะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 วิทยาลัยนาฎศิลป

ผู้แต่ง

  • ภัทราวดี เอี่ยมพงษ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ทนิตตา ชัยโชติ วิทยาลัยนาฎศิลป์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวทางสะเต็มศึกษา, ความสามารถในการสร้างแบบจำลอง, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างแบบจำลองในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องแสง ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวทางสะเต็มศึกษา (stem education) 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสร้างแบบจำลอง ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องแสงของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 วิทยาลัยนาฏศิลป์ จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการสร้างแบบจำลอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนความแตกต่างได้ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แสง หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวทางสะเต็มศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.30 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.11) สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 5.50 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.08) และ 2) นักเรียนมีความสามารถในการสร้างแบบจำลอง เรื่อง แสง หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวทางสะเต็มศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.5 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.01 ) สูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.79)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด

จันทร์พร พรหมมาศ และคณะ (2558). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่อง สารชีวโมเลกุล ด้วยการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลอง เป็นฐานเพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์. 2(26), 42-55.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่6) . กรุงเทพมหานคร: ด้านสุทธาการพิมพ์.

พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่21. นักบริหาร, 33(2), 49 –56.

นัสรินทร์ บือซา. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชีววิทยาความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2544). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พี.เอ็น.การพิมพ์. พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร

เสกสรร สรรสรพิสุทธิ์. (2558). เสวนาวิชาการสะเต็มศึกษา:เรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาพัฒนานวัตกรรมนำสู่อาชีพ. จาก http://www.stemedthailand.org/

อุปการ จีระพันธุ์. (2556). หลักสูตรการออกแบบและเทคโนโลยี. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29