ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2

ผู้แต่ง

  • จิตราวดี วังกานนท์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • พรศักดิ์ สุจริตรักษ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, การบริหารงาน, โรงเรียนขยายโอกาส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำของผู้บริหาร 2) ระดับประสิทธิผลการบริหารงาน และ 3) ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร และครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 558 คน จำแนกเป็น ผู้บริหาร จำนวน 36 คน และครู 522 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวบข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบ มาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจก แจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลาย ขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ด้านภาวะผู้นำแบบชี้นำ ด้านภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ และด้านภาวะผู้นำแบบสนับสนุน 2. ประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ใน ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาโรงเรียน ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงเรียน ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และด้านความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก 3. ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต คือ ภาวะผู้นำแบบมุ่งความสำเร็จ (X4) ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม (X3) และภาวะผู้นำแบบชี้นำ (X1) ซึ่งส่งผลทางบวก และตัวแปรทั้ง 3 ตัว สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนได้ร้อยละ 64.00 และส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของโรงเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเขียน สมการพยากรณ์ได้ดังนี้สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Ytot  =  -.079 + .583X4 + .310X3 + .134X1, สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Ztot  = .640X4 + .301X3 + .131X1

References

ขนิษฐา ก้อนเพชร. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับการขับเคลื่อนการปฏิรูป การศึกษาไทยในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ธงชัย สันติวงษ์. (2537). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. ธีรดา สืบวงษ์ชัย. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจใน การปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

นิธิดา บุรณจันทร์. (2550). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลองค์การของโรงเรียน อาชีวศึกษาเอกชน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรีชา ทัศน์ละไม. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผล ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1-3. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ภารดี อนันต์นาวี. (2551). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี.

สมทรง สุทัศนะจินดา. (2559). การความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับประสิทธิผลการจัดการศึกษา ขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดพิจิตร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

สุพิษ จุ้ยกลาง. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความ พึงพอใจในการทำงานของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นครราชสีมา เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา.

อำภา ปิยารมย์. (2549). การศึกษาภาวะผู้นำกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออก. ปริญญานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

Hanson, Mark E. (1996). Educational Administration and Organizational Behavior. Boston: Allyn and Bacon.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Robbins, S. P. (1990). Organization theory: Structure, design and applications (3rd ed.). New Jersey: Prentice-Hall.

Sammons, P., Hillman, J., & Mortimore, P. (1994). Key characteristics of effective school: A review of school effectiveness research. London: Office for standards in Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-15