การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อิทธิพลของชาติตะวันตกในประเทศกลุ่มอาเซียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิคจิ๊กซอว์

ผู้แต่ง

  • สิปางวัฒน์ ทุมเกษม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุรมิตร ศรีเสนพิลา โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

อิทธิพลของชาติตะวันตกในประเทศกลุ่มอาเซียน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เทคนิคจิ๊กซอว์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่อง อิทธิพลของชาติตะวันตกในประเทศกลุ่มอาเซียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิคจิ๊กซอว์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4/5 โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เทคนิคจิ๊กซอว์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อิทธิพลของชาติตะวันตกในประเทศกลุ่มอาเซียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.00 (S.D.=1.41) สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.90 (S.D.=1.00)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและ พัสดุภัณฑ์

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย

ฆนัท ธาตุทอง. (2551). การออกแบบการสอนและบูรณาการ.นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์

ชนัญญา ยอรัมย์. (2558). ผลการใช้ชุดการเรียนเรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี โดยใช้การเรียนรู้แบบ ร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ (Jigsaw) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ณัฏฐ์วัฒน์ อนันตะสุข. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ประวัติศาสตร์ และความสามารถในการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต) สาขาหลักสูตรและการสอน. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ทิศนา แขมณี. (2559). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายาฯ. (2561). หลักสูตรสถานศึกษา สาระเพิ่มเติมชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ นครปฐม.

ลักขณา สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สุพัตรา ทองคำ. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องเวลากับประวัติศาสตร์โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์กับการเรียนรู้แบบปกติ. วิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2559). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/ 2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกใน ศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อัญชลี ล้อทนงศักดิ์ และวิชาญ เลิศลพ.(2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์สมัย สุโขทัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการสอนรูปแบบจิกซอว์และวิธีการสอนรูปแบบปกติ. รายงาน วิจัย, ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อัษฎายุธ พุทโธ.(2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การหาข้อเท็จจริง ทางประวัติศาสตร์ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ ประกอบผังความคิด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน บัณฑิต วิทยาลัย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-15