การแก้ไขปัญหาการแต่งบทร้อยกรองโดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดการโค้ชชิง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง

ผู้แต่ง

  • ภาวินี ศรีนวล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • พัทรพงศ์ นิลตีบ โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง

คำสำคัญ:

การแก้ปัญหาการแต่งบทร้อยกรอง, ชุดกิจกรรม, การโค้ชชิง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสำรวจปัญหาในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 2) เพื่อวิเคราะห์สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาในชั้นเรียนของนักเรียน 3) เพื่อศึกษาแนวทางที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหาการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียน 4) เพื่อศึกษาวิธีการแก้ปัญหาการแต่งบทร้อยกรองโดยใช้นวัตกรรมของนักเรียน และ 5) เพื่อศึกษาผลของการนำนวัตกรรมไปใช้ในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง จำนวน 4 คน ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 60 เครื่องมือในการวิจัยประกอบไปด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดการโค้ชชิง ชุดกิจกรรม และแบบทดสอบความสามารถในการแต่งโคลงสี่สุภาพกผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีปัญหาการแต่งบทร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพ คิดเป็นร้อยละ 11.76 2) สาเหตุของปัญหาที่ทำให้นักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 60 คือนักเรียนไม่มีความแม่นยำในเรื่องของฉันทลักษณ์ 3) แนวทางที่สอดคล้องกับปัญหาการแต่งบทร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพ คือการโค้ชชิง 4) วิธีการแก้ปัญหาการแต่งบทร้อยกรองประเภทโคลงสี่สุภาพโดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดการโค้ชชิง มีขั้นตอนทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การสังเกต ขั้นที่ 2 การตั้งเป้าเรียน ขั้นที่ 3 การดำเนินการสอน และขั้นที่ 4 ติดตามผล 5) หลังจากการนำนวัตกรรมไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการแต่งบทร้อยกรอง พบว่านักเรียนทั้ง 4 คน ผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 60 ซึ่งนักเรียนผ่านเกณฑ์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ดังนี้ หัวข้อที่ 1 65 70 68.33 และ 78.33 หัวข้อที่ 2 75 88.33 80 และ 60 หัวข้อที่ 3 75 86.66 66.66 และ 76.66 ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ฆนัท ธาตุทอง. (2559). หลักการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศนียา แก้วคงขำ. (2550). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเขียนสะกดคำภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุตรดิษถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ทองพันชั่ง พงษ์วารินทร์. (2552). 10 ความสามารถหลักเพื่อก้าวสู่สุดยอดหัวหน้างาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ Think Beyond.

บุปผา บุญทิพย์. (2559). ร้อยกรอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เปรมศรี ศรีพลราช. (2555). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมความสามารถในการแต่งบทร้อยกรอง โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สกลนครมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วราภรณ์ ศรีกะรัตน์ (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองตามรูปแบบการสอนแบบซินเนคติคส์ร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุนัน ธาราศักดิ์. (2555). การใช้แบบฝึกทักษะการแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30