การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง โดยใช้ชุดกิจกรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนวัดบวรนิเวศ

ผู้แต่ง

  • จิรเมธ ษัฏเสน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
  • ช่อเอื้อง อุทิตะสาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, เลขยกกำลัง, ชุดกิจกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรม กับเกณฑ์ร้อยละ 60 ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนวัดบวรนิเวศ จำนวนนักเรียนทั้งหมด 25 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ชุดกิจกรรม เรื่อง เลขยกกำลัง และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เลขยกกำลัง ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม มีจำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 88 ของกลุ่มเป้าหมาย

References

กชกร พัฒเสมา. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการบวก ลบ คูณ หารระคน สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 (ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ทิศนา แขมมณี. (2543). 14 วิธีสอนสําหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ:

สุวีริยาสาส์น. ประภาศิริ ปราโมทย์. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือคู่กับเกมเพื่อ ส่งเสริมผลการเรียนรู้และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ภัทรลดา ประมาณพล. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง จำนวนนับ และการบวก การลบ การคูณ การหารสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค TAI (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วารุณี ลักษณจันทร์. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องเลขยกกำลัง ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันแบบผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับเทคนิค KWDL. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

วาสนา จันทร์แจ้ง. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเลขยกกำลัง โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TGT กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562. (ออนไลน์). แหล่งทีมา: https://www.onetresult.niets.or.th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30