การแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องพื้นที่ผิวของปริซึม โดยใช้สื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม

ผู้แต่ง

  • ธิดารัตน์ คล้ายอักษร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธนัชยศ จำปาหวาย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

พื้นที่ผิวของปริซึม, สื่อประสม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

รายงานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวของปริซึม โดยการใช้สื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม จำนวน 5 คน ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม จำนวน 5 คน คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายการวิจัยโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อประสม ซึ่งประกอบไปด้วยสื่อประเภทเทคโนโลยี โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad สื่อประเภทวัสดุ โดยใช้รูปเรขาคณิตสามมิติ รูปคลี่ และเกม สื่อประเภทเทคนิค โดยใช้กลวิธีการวาดภาพ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวของปริซึม แบบแสดงวิธีทำ จำนวน 5 ข้อ ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 6 คาบ คาบละ 50 นาที และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พื้นที่ผิวของปริซึม โดยการใช้สื่อประสม ซึ่งส่งผลให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้ง 5 คน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 ตามที่กำหนดไว้

References

จันทิมา แตงทอง. (2559). กิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยการใช้สื่อประสมของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา

ชุลิตา ชูสกุล. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ van Hiele และใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad เป็นเครื่องมือช่วยการเรียนรู้เรื่องทฤษฎีบท พีทาโกรัส ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เบญจวรรณ นันตาเครือ. (2554). การใช้กลวิธีการวาดภาพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่องพื้นที่ผิวและ ปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภรนุชนาฏ อรรถาเวช. (2556). การพัฒนารายวิชาซ่อมเสริมอังกฤษโดยใช้สื่อประสมเพื่อเสริมสร้างความสามารถทาง ภาษา และแรงจูงใจของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร

ภานุพันธ์ มาลาหอม. (2558). การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการนึกภาพ เรื่องพื้นที่ผิวของปริซึมและทรงกระบอกโดยใช้สื่อประสมสำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม. (ปริญญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

รุ่งอรุณ ลียะวณิชย์. (2556). คู่มือครูคณิตศาสตร์ การสอนคณิตศาสตร์ด้วยเกม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

วัลลภ ใหญ่เลิศ. (2556). การพัฒนาสื่อประสมทักษะการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาอังกฤษ โดยการเรียนแบบแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

อภิรดา นิยมวิทยาพัน. (2556). การใช้เกมในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ของ โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในจังหวัดปราจีนบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต

อิศรัฏฐ์ รินไธสง. (2557). การหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity index- CVI). สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562 จาก https://sites.google.com/site/stats2researchs/student-of-the-month

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30