การพัฒนาสื่อการเรียนผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา
คำสำคัญ:
การเรียนผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา, ทักษะการแก้ปัญหาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1.เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ในเรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาที่มีคุณภาพ 2.เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ กลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการแบบปกติ และกลุ่มที่เรียนด้วยสื่อการเรียนผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 63 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) โดยผู้วิจัยเป็นอาจารย์ผู้สอนในรายวิชานวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ทำแบบประเมิน ความสอดคล้องของปัจจัยนำเข้า ความเหมาะสมของขั้นประมวลผล ความเหมาะสมของทักษะการแก้ปัญหา และความเหมาะสมของ Feedback ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาสื่อการเรียนผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา มีผลการการวิจัยดังนี้ มีประสิทธิภาพ 83.91 / 86.98 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น โดยมีค่า t เท่ากับ 58.61 และสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาอื่นต่อไป
References
ชัยวัฒน์ จิวพานิชย์ และชัยวัฒน์ วารี. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างบทเรียนออนไลน์ โดยใช้ LMS Moodle เพื่อการเตรียมความพร้อมในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. งานวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา.
ชัชวาลย์ บัวริคาน. (2559). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบซิปปา เรื่อง การเรียง สับเปลี่ยน สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 (LEARNING MANAGEMENT USING CIPPA MODEL ON PERMUTATION FOR MATHAYOMSUKSA 5 STUDENTS) (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธีระชัย ปูรณโชติ. (2539). การสร้างบทเรียนสำเร็จรูปเส้นทางสู่อาจารย์ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัชรี ศรีสังข์.(2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาสังคมโดยใช้ชุมชนและประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต) สาขาวิชาการวิจัยและ พัฒนาหลักสูตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรต.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสยามกัมมาจล. กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์.
สุทัศน์ สังคะพันธ์. (2557). ทำไมต้องทักษะในศตวรรษที่ 21 ในบทความทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.