การแก้ปัญหาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้เทคนิค RAFT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/9 โรงเรียนศรีบุณยานนท์

ผู้แต่ง

  • ศิริศักดิ์ เนียมเจียมตัว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชิษณุพงศ์ อินทรเกษม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิภาวรรณ เอกวรรณัง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การเขียนเชิงสร้างสรรค์, เทคนิค RAFT, แบบฝึกทักษะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจสภาพปัญหา ผลกระทบและสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น 2) เพื่อศึกษานวัตกรรมที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหา กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/9 โรงเรียนศรีบุณยานนท์ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 4 คนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินการเขียนเชิงสร้างสรรค์ตามที่สถานศึกษากำหนด การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการใน 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหา ระยะที่ 2 การพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และระยะที่ 3 การนำเทคนิค RAFT ร่วมกับแบบฝึกทักษะไปใช้ในการแก้ปัญหาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยมีเครื่องมือในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค RAFT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ จำนวน 6 แผน แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 3 เล่ม เล่มละ 2 ชุด รวม 6 ชุด และแบบทดสอบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ผลการวิจัย พบว่า ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัญหาในชั้นเรียน ปัญหาที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ คือ ปัญหาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ตามที่สถานศึกษากำหนด คือ ร้อยละ 70 จำนวน 4 คน ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อนักเรียน คือ นักเรียนไม่สามารถนำเสนอความรู้ ความคิด ผ่านทักษะการเขียนได้ สำหรับผลกระทบต่อผู้วิจัยซึ่งเป็นผู้สอนในรายวิชาภาษาไทย คือ ทำให้การจัดการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ สาเหตุของปัญหาเกิดจากการคัดลอกผลงานจากอินเทอร์เน็ตหรือเพื่อนนักเรียน รูปแบบการจัดการเรียนสอนที่ไม่น่าสนใจ ทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย และสื่อการสอนที่ไม่มีดึงดูดความสนใจแก่ผู้เรียน ระยะที่ 2 การพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ นวัตกรรมที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ เทคนิค RAFT ร่วมกับแบบฝึกทักษะ โดยผ่านการประเมินความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ มีค่าความสอดคล้อง 0.91 ระยะที่ 3 ผลการศึกษาการนำเทคนิค RAFT ร่วมกับแบบฝึกทักษะไปใช้ในการแก้ปัญหาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ พบว่า นักเรียนที่มีปัญหาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ มีผลการทดสอบความสามารถในการเชิงสร้างสรรค์ คิดเป็นร้อยละ 77.14, 75.24, 73.33 และ 71.43 ตามลำดับ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ตามที่ผู้วิจัยกำหนดไว้ทุกคน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค RAFT ร่วมกับแบบฝึกทักษะเป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมให้นักเรียนเกิดจินตนาการในการเขียนผ่านการสวมบทบาทที่หลากหลาย นำเสนอความคิดที่แปลกใหม่ด้วยตนเอง และเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับงานเขียนแต่ละประเภท การใช้ร่วมกับแบบฝึกทักษะนั้นจะช่วยให้นักเรียนไม่เบื่อหน่ายและเกิดความสนใจในการเรียน สามารถฝึกฝน ทบทวนและทำซ้ำได้ ทำให้เกิดความเข้าใจและความชำนาญในการเขียน จนเกิดเป็นความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ที่คงทนถาวร

References

เทพสถิตย์ มะโนรัตน์. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะแคลคูลัส เรื่อง การหาอนุพันธ์ของ ฟังก์ชันพีชคณิต ชั้น ปวส 1/6 วิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา เอกชน กระทรวงศึกษาธิการ

ประภารัช ทิพย์สงเคราะห์. (2555). ผลของการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้เว็บเควสท์ 2.0 และการเสริมสร้างศักยภาพ ทางการเรียนที่เน้นกระบวนการที่มีต่อความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมพงษ์ ศรีพยาต. (2553). การพัฒนาชุดแบบฝึกการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร

สมพร ตอยยีบี. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเซนต์ทารา หนองจอก กรุงเทพฯ (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สำนักงานบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2558). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

อนุรักษ์ เร่งรัด. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการประยุกต์ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร

Ahmad Iseifan El Sourani. (2017). The Effectiveness of Using RAFTs Strategy in Improving English Writing Skills among Female Tenth Graders in Gaza. Degree of Master of Curriculum and Instruction, Faculty of Education, The Islamic University.

Mather et al. (2002). Woodcock-Johnson III: Reports,Recommendations, and Strategies. New York: John Wiley & Sons.

Parilasanti, Ni Made Elis. (2014). The effect of RAFT Strategy and Anxiety upon Writing Competency of The Seventh Grade Students of SMP Negeri 3 Mengwi in Academic Year 2013/2014. Denpasar: Universitas Pendidikan Ganesha.

Santa. (1988). Content reading including study systems: Reading, writing, and studying across the curriculum. Dubuque, IA: Kendall/Hunt.

Yoesis Ika pratiwi. (2016). The Use of RAFT strategy in teaching writing procedure text at the second grade of sman 3 bandar lampung. Lampang: Lampang University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28