การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีบุณยานนท์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, เทคนิค LT, ความพึงพอใจ, ทศนิยมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีบุณยานนท์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีบุณยานนท์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีบุณยานนท์ จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากเป็นห้องเรียนที่มีนักเรียนคละความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT เรื่อง ทศนิยม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 7 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT เรื่อง ทศนิยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นข้อสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT เรื่อง ทศนิยม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test for Dependent Sample, t-test for One Sample) ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีบุณยานนท์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม หลังเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีบุณยานนท์หลังเรียน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT มีความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม อยู่ในระดับ พึงพอใจมาก
References
ทิศนา แขมมณี. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัฏฐา ยืนนาน. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด ด้วยวิธี การเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค Learning Together (LT) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. สืบค้นจาก http://www.udru.ac.th/index.php/bachelor-2556-2557/982-udru-student-research-76.html
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันนิดา เทียนเจษฎา. (2556). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและทศนิยม โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฎ บุรีรัมย์. สืบค้นจาก http://www.202.28.199.21/tdc/dccheck.php?Int_code=23&RecId=1135&obj_id=9424&showmenu=no&userid=0
วิรากร บุญชวลิต. (2557). แรงจูงใจและการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพ. สืบค้นจาก http://www.202.28.199.21/tdc/dccheck.php?Int_code=54&RecId= 17932&obj_id=46987&showmenu=no&userid=0
วิษณุ ทรัพย์สมบูรณ์. (2557). เจตพิสัยและทักษะพิสัยในกระบวนการจัดการศึกษา ใน เอกสาร การสอนชุดวิชาการพัฒนาเครื่องมือวัดด้านเจตพิสัยและทักษะพิสัย หน่วยที่ 1-8. (พิมพ์ครั้งที่3). หน้า 1-29. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2561). ผลคะแนน O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ค้นหาเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ.2561. จาก http://www.onetresult.niets.or.th/