การพัฒนาทักษะการคิดเชิงบริหารของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนอนุบาลสามเสน (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) โดยการจัดกิจกรรมเกมบทบาทสมมติออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ณัฐธิดา ฤาชากุล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สิริมณี บรรจง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ดิษิรา ผางสง่า คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดเชิงบริหาร, เกมบทบาทสมมติ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดเชิงบริหารของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนอนุบาลสามเสน (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมบทบาทสมมติออนไลน์  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2/1 โรงเรียนอนุบาลสามเสน (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยแบบสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการใช้กิจกรรมเกมบทบาทสมมติออนไลน์ มีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.50 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.27 และแบบประเมินทักษะการคิดเชิงบริหาร มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) อยู่ระหว่าง 0.671- 1.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบสมมติฐาน t-test  ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนทักษะการคิดเชิงบริหารหลังการจัดกิจกรรมเกมบทบาทสมมติออนไลน์ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมบทบาทสมมติออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

คำสำคัญ: ทักษะการคิดเชิงบริหาร, เกมบทบาทสมมติ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกศกนก ลมงาม. (2562). การพัฒนาหนังสือกึ่งของเล่น เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงบริหาร สำหรับเด็กอายุ 4 –6 ปี. (ปริญญานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมการออกแบบ). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สืบค้นจาก http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/549.

ฉัตรกมล ประจวบลาภ. (2559). Game-Based Learning กับการพัฒนาการเรียนการสอนทางการพยาบาล. วารสารกองการพยาบาล, 43(2), 127-136.

นภวิชญ์ ขำเกลี้ยง. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นเกมคอมพิวเตอร์เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 1906-3431. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/ 92418

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล. (2560). การพัฒนาและหาค่าเกณฑ์มาตรฐานเครื่องมือประเมินการคิดเชิงบริหาร ในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานครฯ: ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล. มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4650?locale-attribute=th.

นุชนาฎ รักษี. (2562). การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะสมองการรู้คิดเชิงบริหาร ผ่านกิจกรรมบูรณาการประสาทสัมผัสในเด็กปฐมวัย. สืบค้นจาก http://www.thai-explore.net.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2559). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.

พิสณุ ฟองศรี. (2558). วิจัยชั้นเรียน: หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

พัชรินทร์ พาหิรัญ. (2560). ผลของโปรแกรมสมอง จิตใจ และการเรียนรู้ ต่อหน้าที่บริหารจัดการของสมองในนักเรียนชั้นประถมศึกษา . (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสมอง จิตใจ และการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์). มหาวิทยาลัยบูรพา. สืบค้นจาก http://mis.nrru.ac.th/gradjournal/uploadify/uploads/Test/709%2020-04-18%2012-24-14.

Linda Miller and Linda Pound. (2554). Theories and Approaches to Learning in the Early Years. India: C&M Digitals (P) Ltd. สืบค้นจาก https://books.google.co.th.

Rachel B Thibodeau. (2559). The effects of fantastical pretend-play on the development of executive functions: An intervention study. Journal of Experimental Child Psychology, 145(1), 120–138. สืบค้นจาก https://www.researchgate.net.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-21