การพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดียเรื่องทัศนียภาพ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหัวหิน

ผู้แต่ง

  • เกียรติศักดิ์ หนูขาว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • กัลยา รัศมีเพ็ญ โรงเรียนหัวหิน
  • ศิริเพ็ญ ภู่มหภิญโญ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

สื่อการสอนมัลติมีเดีย, ทัศนียภาพ, แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดียเรื่องทัศนียภาพ รายวิชาทัศนศิลป์ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีคุณภาพในระดับดีมาก 2) เปรียบเทียบผลการเรียนวิชาศิลปะระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสื่อการสอนมัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้น 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการสอนมัลติมีเดียที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) สื่อการสอนมัลติมีเดีย เรื่องทัศนียภาพ (2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน (3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ผลข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพดำเนินการด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) การพัฒนาสื่อการสอนมัลติมีเดียเรื่องทัศนียภาพ ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคุณภาพในระดับดีมาก (= 4.78 S.D. = 0.29) (2) เปรียบเทียบผลการเรียนเรื่องทัศนียภาพระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสื่อการสอนมัลติมีเดีย ทัศนียภาพ รายวิชาทัศนศิลป์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 85.2 (3) ความพึงพอใจของนักเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (=4.9, S.D. =0.31)   ต่อการพัฒนาการสื่อการเรียนการสอนมัลติมีเดีย เรื่องทัศนียภาพที่พัฒนาขึ้น

 

คำสำคัญ: สื่อการสอนมัลติมีเดีย, ทัศนียภาพ, แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน, ความพึงพอใจ

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อรุณการพิมพ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). การพัฒนาการศึกษาแผนการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ฐนัส มานุวงศ์. (2550).อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกต่อพฤติกรรมบริโภคของเยาวชนไทยผ่าสื่อภาษาอังกฤษ. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณัฐกร สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรพล วิบูลยศริน. (2556). นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุธัญญา ด้วงอินทร์. (2560). บทวิจารณ์หนังสือเรื่อง Flip your classroom: Reach every student in every cass every day. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้ : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-21