ระบบการบริหารจัดการคุณภาพแบบมีส่วนร่วม เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
ระบบการบริหารจัดการ, คุณภาพ, มีส่วนร่วม, คุณภาพการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาระบบการบริหารจัดการคุณภาพแบบมีส่วนร่วม 2) ทดลองใช้ระบบการบริหารจัดการคุณภาพแบบมีส่วนร่วม และ3) ประเมินระบบการบริหารจัดการคุณภาพแบบมีส่วนร่วม ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 7 คน นักเรียน จำนวน 1,812 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 88 คน โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมิน และแบบสรุปผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาระบบการบริหารจัดการคุณภาพแบบมีส่วนร่วม พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก (= 4.30, S.D. = 0.25) 2) ผลการทดลองใช้ระบบการบริหารจัดการคุณภาพแบบมีส่วนร่วม มีผลการประเมินพัฒนาการนักเรียน ระดับปฐมวัย อยู่ในระดับดี ร้อยละ 97.42 ผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนักเรียนระดับประถมศึกษา ที่มีผลการเรียนระดับ 3 ขึ้นไป กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ร้อยละ 74.29 คณิตศาสตร์ ร้อยละ 78.65 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 82.64 สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ร้อยละ 90.38 ประวัติศาสตร์ ร้อยละ 82.74 สุขศึกษาและพลศึกษา ร้อยละ 94.67 ศิลปะ ร้อยละ 93.83 การงานอาชีพ ร้อยละ 93.83 วิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ร้อยละ 66.05 และรายวิชาเพิ่มเติม ร้อยละ 51.09 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 93.24 ระดับดี ร้อยละ 6.66 และผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนของนักเรียน ระดับดีเยี่ยม ร้อยละ 43.61 ระดับดี ร้อยละ 49.56 และ 3) ผลการประเมินระบบการบริหารจัดการคุณภาพแบบมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก (= 4.16, S.D. = 0.22) พบว่า ทุกด้านมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ: ระบบการบริหารจัดการ, คุณภาพ, มีส่วนร่วม, คุณภาพการศึกษา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้มาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ ฉบับลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
บัณฑิต พัดเย็น. (2558). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับประถมศึกษาสู่เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ.วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
(พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82ก (13 ตุลาคม 2561). สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2554-2558). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)
สิริมา เปียอยู่ สุภาพร พงศ์ภิญโญโอกาส และขวัญดาว แจ่มแจ้ง. (2561). กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนมาตรฐานสากลในเขตภาคเหนือตอนล่าง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 12(1); 260-274.
Anderson, A. (2016). Leadership for school improvement. (Thesis in Doctor of Education), Australian Catholic University, Australia: New South Wales,
Ofsted. (1994). The Annual Report of Her Majesty's Chief Inspector of Schools 1993 to 1994. London: The Stationery Office.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.