การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครู ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10

ผู้แต่ง

  • โกศล เย็นสุขใจชน โรงเรียนวัดแก้วเจริญอำนวยวิทย์

คำสำคัญ:

การบริหารแบบมีส่วนร่วม, การทำงานเป็นทีม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา และ 3) ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 103 คนและครูจำนวน 335 คน รวมทั้งสิ้น 438 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน  ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ การตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน ความเป็นอิสระต่อความรับผิดชอบในงาน ความยึดมั่นผูกพันและการไว้วางใจกัน  2. การทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ความผูกพันความเชื่อถือระหว่างกัน การสื่อสารที่ดี  ทักษะที่เกี่ยวข้อง การสนับสนุนจากภายในและภายนอก ทักษะในการเจรจา ความชัดเจนของเป้าหมาย และ ภาวะผู้นำที่เหมาะสม 3. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหาร ด้านความยึดมั่นผูกพัน(X2)  และด้านการไว้วางใจกัน (X1)  ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 โดยสามารถร่วมกันทำนายการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษา ได้ร้อยละ 31.60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ gif.latex?\widehat{Y}tot  = .310 + .248(X2) + .266(X1
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน gif.latex?\widehat{Z} tot   = .380(X2) + .329(X1

คำสำคัญ : การบริหารแบบมีส่วนร่วม, การทำงานเป็นทีม

References

ชาฤนี เหมือนโพธิ์ทอง. (2555). การบริหารแบบมีส่วนร่วมกับการทำงานเป็นทีมของพนักงานครูในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประคอง สุคนธจิตต์. (2551). การทำงานเป็นทีม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกริก.

พรรณภา อนันตะคู (2563). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมในวิทยาลัย

อาชีวศึกษาเอกชน ภาคกลาง. นครปฐม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

พูนทรัพย์ คำวิชา. (2549). การทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษาสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาขอนแก่น.

ลําเพย เย็นมนัส. (2553). บทบาทของคณะกรรมการโรงเรียนประถมศึกษา ในทัศนของผู้บริหารโรงเรียนสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วีรยุทธ แสงสิริวัฒน์. (2550). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมใจ ลักษณะ. (2549). การพัฒนาตนเองการบริหารงานบุคคลบุคลิกภาพวัฒนธรรมองค์การค่านิยม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. (2557). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2558. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. เพชรบุรี : ผู้แต่ง.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2552). การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Swansburg, R. C. (1996). Management and leadership for nurse managers. Boston: Jones and Bartlett publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-07