การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านตีความวรรณคดี โดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ธีรโชติ การสี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธิดาดาว เดชศรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การอ่านตีความวรรณคดี, กระบวนการสืบสอบ, สื่อประสม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาในชั้นเรียน เพื่อนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมสำหรับการพัฒนาชั้นเรียน รวมทั้งนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาความสามารถการอ่านตีความวรรณคดี ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี จำนวน 3 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง จากนักเรียนที่มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์มาตรฐาน แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ที่ผู้วิจัยกำหนด ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สภาพปัญหาในชั้นเรียน ระยะที่ 2 การพัฒนานวัตกรรมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กระบวนการสืบสอบร่วมกับสื่อประสม เพื่อพัฒนาความสามารถการอ่านตีความวรรณคดี และระยะที่ 3 การนำนวัตกรรมรูปแบบการจัดการเรียนรู้กระบวนการสืบสอบร่วมกับสื่อประสมไปใช้ในการพัฒนาการอ่านตีความ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการอ่านตีความวรรณคดี จำนวน 3 แผน ชุดสื่อประสมวรรณคดี จำนวน 3 ชุด  และแบบทดสอบการอ่านตีความวรรณคดี ซึ่งผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัญหาในชั้นเรียน คือ นักเรียนไม่สามารถอ่านตีความวรรณคดีตามเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดได้ 2. ผู้วิจัยดำเนินการพัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้ในการพัฒนาความสามารถการอ่านตีความวรรณคดี พบว่า การใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้กระบวนการสืบสอบร่วมกับสื่อประสม สามารถช่วยพัฒนาความสามารถการอ่านตีความได้ และ 3. ผลการนำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาความสามารถการอ่านตีความวรรณคดี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 พบว่า นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านตีความวรรณคดีสูงขึ้น ผ่านเกณฑ์ที่ผู้วิจัยกำหนดที่ร้อยละ 60

คำสำคัญ: การอ่านตีความวรรณคดี, กระบวนการสืบสอบ, สื่อประสม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556, 21 สิงหาคม). แนวทางการพัฒนาและประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน. สำนักวิชาการ และมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. http://www.academic.obec.go.th.

กฤษฎชนม์ ภู่อร่าม. (2552). การสร้างบทเรียนสื่อประสมเพื่อเสริมทักษะการอ่านทำนองเสนาะ “กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้า ธรรมธิเบศร” วิชาภาษาไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต]. TDC-ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php.

นพดล จันทร์เพ็ญ. (2557). หลักการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: เจเนซิส มีเดียคอม จำกัด

ทิศนา เขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชราภรณ์ พิลาสมบัติ. (2559). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบและการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยของนักศึกษาครู. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. TDC-ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2551). การสังเคราะห์ความรู้จากการอ่าน. เอกสารการสอนชุดวิชาการอ่าน ภาษาไทยหน่วยที่ 1 – 8. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิจิตราภรณ์ ศิลปะ. (2547). การพัฒนาสื่อประสมร่วมกับการเรียนแบบซี ไอ อาร์ ซี เรื่อง การสะกดคำไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดมากด วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต]. TDC-ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php.

สุมาลี เชื้อชัย. (2560). การเปรียบเทียบการสอนแบบสืบสอบ (5E) กับการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองที่มีความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต] TDC-ThaiLIS. https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php.

หทัยรัตน์ ชิตรัถถา และ วิภาวรรณ เอกวรรณณัง. (2563). การแก้ปัญหาการอ่านวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการใช้คําถามร่วมกับหนังสือส่งเสริมการอ่านแบบการ์ตูน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนวัดบวรมงคล. วารสารวิชาการครุศาสตร์ สวนสุนันทา, 4(2), 42.

อังศุมาลี ทวีเหลือ และคณะ. (2562). การแก้ปัญหาการเขียนเชิงวิชาการโดยใช้กระบวนการสืบสอบร่วมกับเทคนิคการให้ข้อมูลย้อนกลับของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/7 โรงเรียนโยธินบูรณะ. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์ สวนสุนันทา, 3(2), 3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-07