รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดที่เสริมสร้างสมรรถนะ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • ทับทิมทอง กอบัวแก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เกริกเกียรติ กอบัวแก้ว คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สมเกียรติ กอบัวแก้ว คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) เพื่อศึกษาสมรรถนะด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครูตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบการพัฒนารูปแบบและประเมินรูปแบบ จำนวน 7 คน เลือกแบบเจาะจง กลุ่มที่สอง คือ นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 1 กลุ่ม 30 คน ใช้สาขาวิชาเป็นหน่วยสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญแบบปลายเปิด แบบสอบถามความคิดเห็นเพื่อประเมินความเหมาะสมและรับรองรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น แผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามองค์ประกอบของรูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินสมรรถนะการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น จำนวน 8 แผน ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวม 16 ชั่วโมง จากนั้นทำการประเมินผลสัมฤทธ์ทางการเรียนและสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า  1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่  1) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ 2) การออกแบบการเรียนการสอน 3) การออกแบบบทเรียน 4) ชุมชนชั้นเรียน 5) การมีส่วนร่วมและการโต้ตอบ 6) การวัดและประเมินผล และ 7) ผลสะท้อนกลับและการปรับปรุง และผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  2) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เมกุยแกนส์ พบว่า ประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 2.75 เป็นไปตามเกณฑ์ของเมกุยแกนส์ แสดงว่าสื่อมีประสิทธิภาพสูง จากประสิทธิภาพของกิจกรรมส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และหลังเรียนกลุ่มตัวอย่างมีสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด

คำสำคัญ: การจัดการเรียนรู้แบบไฮบริด, สมรรถนะ, สื่อนวัตกรรม, นักศึกษาวิชาชีพครู

References

ชัยวัฒน์ สุภัควรกุลและคณะ. (2560). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบไฮบริด สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 23(1), 66-75.

เนาวนิตย์ สงคราม. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสาน ด้วยการเรียนเป็นทีมและกระบวนการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างนวัตกรรมของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ยืน ภู่วรวรรณ. (2564). การศึกษาวิถีใหม่. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2564, จาก https://learningdq-dc.ku.ac.th/course/?c=3&l=3.

ศิริพรรณ รัตนะอำพร. (2563). การศึกษาในยุคโควิด 19. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2564, จาก https://www.yuvabadhanafoundation.org/th/ข่าวสาร/บทความทั่วไป/การศึกษา-covid-19/.

ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์และคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบไฮบริด (Hybrid Learning) กับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. 12(3), 213-224.

สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2564). ‘ห้องเรียนไฮบริด’ ยุคโควิด 19. กรุงเทพฯ : ผู้จัดการออนไลน์.

สัญสิริ อินอุ่นโชติ, มรกต แซ๋ว้าน, สไบทิพย์ โกละกะ, ปาริวรรณ บุตรศาสตร์และสุทธิพร แท่นทอง. (2564). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบใช้กรณีศึกษาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา. 5(1), 74-85

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

Johnson, A., McHugo, H., & Hall, G. (2006). Blended learning and sense of community: a comparative analysis with traditional and fully online graduate course. Retrieved January 1, 2021 from http://www.irrodl.org/content/v5.2/rovai-jordan.html.

Yaso, M. (2017). 21st Century Learning. Retrieved January 1, 2021 from http://www.gotoknow.org/posts/542974/. (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-21