การจัดกิจกรรมโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจอาสา ของนิสิตในรายวิชาการสอนเพื่อสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
คำสำคัญ:
การเรียนรู้ร่วมกัน, แรงจูงใจอาสา, นิสิตปริญญาตรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจอาสาของนิสิตในรายวิชาการสอนเพื่อสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจอาสาของนิสิตในรายวิชาการสอนเพื่อสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการสอนเพื่อสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล (01166421) ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยมีนิสิตที่สมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 16 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองที่มีกลุ่มทดลองเพียงกลุ่มเดียวโดยมีการวัดตัวแปรตามก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วย การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ 2) แบบวัดแรงจูงใจอาสา 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของคะแนนโดยใช้สถิติ Dependent -Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจอาสา ภายหลังการทดลองการทดลอง มีคะแนนจากแบบวัดแรงจูงใจอาสา สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 2) นิสิตมีความพึงพอใจเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดย 3 ลำดับแรกที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมที่จัดขึ้นช่วยให้นิสิตเกิดกระบวนการคิดเป็นกลุ่ม และมีการสื่อสารระหว่างบุคคลมากขึ้น ( =4.81) กิจกรรมที่จัดขึ้นมีส่วนช่วยในการสร้างแรงจูงใจ อาสาให้กับนิสิตl ( = 4.69) กิจกรรมที่จัดขึ้นช่วยให้นิสิตเกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ( = 4.69) ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถเสริมสร้างแรงจูงใจอาสาได้เป็นอย่างดี
คำสำคัญ: การเรียนรู้ร่วมกัน, แรงจูงใจอาสา, นิสิตปริญญาตรี
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรรณิกา มาโน. (2554). ความหมายของชีวิตกับจิตอาสา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธิดาชนก วงศ์พิทักษ์. (2556). ปัจจัยจิตสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ดิเรก วรรณเศียร. (2564). MACRO model: รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ (8 ธันวาคม 2564) จาก http://regis.dusit.ac.th/images/news/ น.30.
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพมหานคร. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปวีณา อ่อนใจเอื้อ (2562). การสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ร่วมกันในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(4), 95-119.
ราชบัณฑิตสถาน. (2554). ความมุมานะ ความมุ่งมั่น. (Online)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564) (Online).
อนุ เจริญวงศ์ระยับ. (2552). การรับรู้สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาและลักษณะส่วนบุคคลที่เอื้อต่อการเป็นอาสาสมัครอย่างยั่งยืนในนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Andam, R., Hematinejad, M., Hamidi, M., Ramnezannejad, R., & Kazemnejad, A. (2009). Study on the volunteering motivation in Sport (In Persian). Olympic Journal, 3(47), 105-166.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.