ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์กรของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1

ผู้แต่ง

  • นรากร มั่นแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ยุภาดี ปณะราช มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์กร, สุขภาพองค์กรของโรงเรียน, แนวทางการพัฒนาปัจจัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสุขภาพองค์กรของโรงเรียน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์กรของโรงเรียน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์กรของโรงเรียนกับสุขภาพองค์กรของโรงเรียน 4) สร้างสมการพยากรณ์สุขภาพองค์กรของโรงเรียน และ 5) หาแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์กรของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 297 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 17 ท่าน จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า 1) สุขภาพองค์กรของโรงเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์กรของโรงเรียนทุกตัวในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์กรของโรงเรียนกับสุขภาพองค์กรของโรงเรียน ทุกตัวแปรมีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์กรของโรงเรียน สามารถทำนายสุขภาพองค์กรของโรงเรียน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์กรของโรงเรียน คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาควรมีการตั้งเป้าหมายสู่การปฏิบัติร่วมกัน ผู้บริหารควรมีการชื่นชม ยกย่องเชิดชูเกียรติด้วยวิธีที่หลากหลายและเหมาะสม ครูและบุคลากรควรได้รับการสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอต่อความต้องการและเหมาะสม ผู้บริหารควรมีการจัดอบรม ให้ความรู้ในเชิงวิชาการด้านต่างๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรและผู้บริหารควรรับฟังความคิดเห็น การมีส่วนร่วม การตัดสินใจและกระจายอำนาจบริหารอย่างชัดเจน

คำสำคัญ: ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์กร, สุขภาพองค์กรของโรงเรียน, แนวทางการพัฒนาปัจจัย

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: งานพิมพ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของ สป. ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ

กอบัว ทัศนภักดิ์. (2550). องค์กรสุขภาพดี. วิทยานิพนธ์ วท.ม., สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ., [ออนไลน์]. Available: http://library1. nida.ac.th/termpaper5/hrd/2550/19238. [2564 กุมภาพันธ์, 1].

คมขำ ศรีผดุง. (2554). ศึกษาระดับและแนวทางการพัฒนาสุขภาพองค์กรของโรงเรียนในสังกัดองค์กรบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิราวัฒน์ ไทยประเสริฐ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพองค์กร ความสุขในการทำงานและความผูกพันในงาน กรณีศึกษา : พนักงานธนาคารแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ. การศึกษาค้นคว้าอิสระศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชวนชม ชินะตังกูร และคณะ. (2560). ความสุขในการทำงานของบุคลากรการศึกษา สังกัดสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(2), 26-39.

เบญจวรรณ มาลัยรุ่งสกุล. (2552). ปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ พย.ม., มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์ทรวิโรฒ.

วิภาดา แก้วนิยมชัยศรี. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขของเทศบาลในจังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ., [ออนไลน์]. Available: http://www.ejournal.su.ac.th/upload/666. [2564 กุมภาพันธ์, 1].

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2557). รายงานประจำปี 2557 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ : ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 (พ.ศ. 2563-2565). [ออนไลน์]. Available: http://www.takesa1.go.th/main56/index.php?name=knowledge&category=3. [2564 กุมภาพันธ์, 1].

สุนันทา บุญมา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสุขภาพองค์กรของสถานศึกษากับความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สุรเชษฐ์ สุวพร. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจภูธรเมืองนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุรศักดิ์ เจริญผล. (2558). สุขภาพองค์กรของโรงเรียนพระตาหนักสวนกุหลาบ มหามงคล. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนุพงศ์ รอดบุญปาน. (2561). องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนอนุบาลกุยบุรี (วัดวังยาว). การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อำนวย ทองโปร่ง. (2555). ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : มิตรภาพการพิมพ์และสติวดี.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Miles, Matthew B. (1973). Planed Chang and Organization Health Figure and Ground. Boston : Allyn and bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-21