รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การเสริมสร้างพลังอำนาจครู, ผู้บริหารสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 2) หารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ประเมินรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 274 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 28 คน และครูผู้สอน จำนวน 246 คน โดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie & Morgan และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ระยะที่ 2 การหารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาพหุกรณี กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 การร่างรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา และขั้นตอนที่ 3 การสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา โดยการประเมินอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับของความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นลำดับที่สูงที่สุดคือ ด้านการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน 2) รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) ชื่อรูปแบบ (2) หลักการของรูปแบบ (3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (4) ระบบงานและกลไกของรูปแบบ (5) วิธีดำเนินงานของรูปแบบ ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ ก. ด้านการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ข. ด้านการทำงานเป็นทีม ค. ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ง. ด้านความก้าวหน้าในวิชาชีพ และ จ. ด้านการได้รับอำนาจ ประกอบด้วย 15 วิธีดำเนินงาน 48 กิจกรรมหรือวิธีการปฏิบัติ (6) การประเมินรูปแบบ และ (7) ระบุเงื่อนไขความสำเร็จ และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้
References
กนิษฐา ทองเลิศ. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนางานวิชาการของสถานศึกษา. วารสาร มจร.อุบลปริทรรศน์, 5 (2), 533-548.
ขำ แสงจันทร์. (2561). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาโดยเสริมสร้างพลังอำนาจชุมชนเพื่อสร้างอาชีพในโครงการโรงเรียนดีประจำตำบล (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ดารารัตน์ อ้นถาวร. (2562). การเสริมสร้างพลังอำนาจส่งผลต่อขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ภิญญาพัชญ์ เทียมเมืองแพน. (2560). แนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูในการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนขยายโอกาสสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาพร ภูบาลเช้า, ธัญญธร ศรีวิเชียร. (2559). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างพลังอำนาจครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. (2563). รายงานผลการจัดการศึกษาปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สืบค้น 10 กันยายน 2564, จาก https://www. nb2.go.th/o12-รายงานผลการดำเนินงานป.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). ประกาศนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565. สืบค้น 10 กันยายน 2564, จาก https://www.obec.go.th/about/นโยบายสพฐปีงบประมาณ-พ-ศ-2561.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สวาด พลกล้า. (2561). การเสริมสร้างพลังอำนาจของครูที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครู กศน.ตำบล สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). ร้อยเอ็ด. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
สุริยา หึงขุนทด. (2563). กระบวนทัศน์การเสริมสร้างพลังอำนาจครูในสถานศึกษา : พหุกรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา(วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). นครราชสีมา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สมคิด สกุลสถาปัตย์. (2562). การสร้างพลังอำนาจในการบริหารงานบุคคลเชิงสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 10 (2), 178-196.
อภินันท์ เจริญศิริ. (2560). กลยุทธ์ของผู้บริหารในการเสริมสร้างพลังอำนาจครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). นครราชสีมา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Testing. 3rded. New York: Harper&Row.
Kanter, R. M. (1977). On the Frontiers of Management. New York: A Harvard Business Review Book.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.