การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ โดยใช้วีดิทัศน์เพื่อการสอนทางไกล

ผู้แต่ง

  • ปานอาภา วีชะรังสรรค์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นฤมล เนียนหอม โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ
  • ธิติกาญจน์ ฐิติโสภณศักดิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุพันธ์วดี ไวยรูป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การคิดแก้ปัญหา, วีดิทัศน์, การสอนทางไกล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ โดยใช้วีดิทัศน์เพื่อการสอนทางไกล และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ ก่อนและหลังการใช้วีดิทัศน์เพื่อการสอนทางไกล กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้วีดิทัศน์เพื่อการสอนทางไกล ในภาพรวมมีคุณภาพความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}= 4.90, S.D. = 0.27) และแบบประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหา มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (IOC) อยู่ในระดับ 1.00 ทุกข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังการใช้วีดิทัศน์เพื่อการสอนทางไกล ในภาพรวมอยู่ในระดับดีทุกคน 2) นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้วีดิทัศน์เพื่อการสอนทางไกลสูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรมทุกคน

คำสำคัญ: การคิดแก้ปัญหา, วีดิทัศน์, การสอนทางไกล

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

ฐิติมา ชาลีกุล. (2564). ประชุมทางไกลชี้แจงแนวทางปฏิบัติภายใต้สถานการณ์โควิด - 19 สำหรับโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564, จาก https://www.obec.go.th/archives/363188

ทิศนา แขมณี. (2564). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันท์นภัส มงคลสังข์. (2563). การพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบนิทานการ์ตูนแอนิเมชั่นเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (5-6 ปี). วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 2.

พัชรี เขตต์จะโป๊ะ. (2563). แนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2564, จาก https://drive.google.com/file/d/19OC2OnrIbCfv5hd5vssQ_77Rr-bmW2wf/view

พิสณุ ฟองศรี. (2558). วิจัยในชั้นเรียน : หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ยศวีร์ สายฟ้า. (2564). รายงานผลการศึกษาการจัดการเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย และเด็กชั้นประถมศึกษาตอนต้นภายใต้สถานการณ์ COVID – 19. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2564, จาก https://www.obec.go.th/wp-content/.

วัลลภ สุขดิษฐ์. (2558). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ประกอบการสอนแบบการ์ตูน Stop Motion เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ด้านความมีวินัย สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้นจาก http://www.edu.nu.ac.th/th/news/docs/download/2018_05_01_16_52_31.pdf

วรนาท รักสกุลไทย.(2558). เจอเนอเรชั่นอัลฟ่า Generation Alpha. ค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2564, จาก http://www.maneeya.ac.th.

สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2560). การบริหารจัดการสื่อดิจิทัลเพื่อเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นจาก http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1525

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แนะแนววิธีการเลี้ยงดู ดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามสมรรถนะ เพื่อเพิ่มคุณภาพเด็กตามวัย 0 – 5 ปี. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-21