ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาชาวจีน มหาวิทยาลัยในราชอาณาจักรไทย

ผู้แต่ง

  • ชุติมา สุดจรรยา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, นักศึกษาชาวจีน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาชาวจีนต่อการตัดสินใจเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยในราชอาณาจักรไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาชาวจีนในการเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยในราชอาณาจักรไทย โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ภาษาไทย เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความถูกต้องและพิจารณาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) โดยวิธีหาสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบัค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .877 และทำการแจกแบบสอบถามตามความสะดวกกับนักศึกษาชาวจีนที่มีความต้องการเดินทางมาเรียนในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และมีความสามารถในการอ่าน และเข้าใจภาษาไทยในระดับที่ดี โดยการใช้เทคนิค snow ball ตัดแบบสอบถามที่ไม่ตรงตามเกณฑ์คือ เป็นแบบสอบถามที่ได้รับข้อมูลที่ผิดปกติและข้อมูลสอบถามที่ข้อมูลสูญหายทำให้ได้แบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 51 ชุด และนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลในรูปแบบตารางแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยการตลาดในมุมมองผู้บริโภค 7Cs ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาชาวจีนเพื่อเรียนในมหาวิทยาลัยในราชอาณาจักรไทย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.51) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 5.00) ได้แก่ 1. นักศึกษาชาวจีนมีความต้องการให้มหาวิทยาลัยในราชอาณาจักรไทยมีระบบที่ทำให้นักศึกษาสามารถลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ได้ 2. มหาวิทยาลัยควรมีบุคลากรมีความเป็นมิตร และ มีความเข้าใจในวัฒนธรรมจีน 3. นักศึกษาชาวจีนต้องการช่องทางอำนวยความสะดวกในการติดต่อ สอบถาม ทั้งช่องทางออนไลน์การเดินเข้ามาติดต่อด้วยตัวเอง และโดยสามารถเดินทางมาติดต่อที่สำนักงานของมหาวิทยาลัยได้สะดวก มีหน่วยงานรับผิดชอบชัดเจน โดยได้รับการบริการที่ดี และเป็นมิตร 4. นักศึกษาชาวจีนให้ความสำคัญที่ราคาค่าใช้จ่ายในการเรียนไม่สูงนักเมื่อเทียบกับที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งผู้ปกครองรู้สึกว่า มีความคุ้มค่าในการลงทุนให้เรียน และการมีระบบการชำระเงินที่ไม่ซับซ้อน และมีเอกสารรับรองการชำระเงินที่ชัดเจน รองลงมาคือ ด้านที่มีค่าเฉลี่ย (= 4.94) คือ 1. นักศึกษาชาวจีนต้องการหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการของนักศึกษา 2. นักศึกษาชาวจีนต้องการให้มหาวิทยาลัยมีคำอธิบายภาษาจีนที่อธิบายขั้นตอนเกี่ยวกับการลงทะเบียนอย่างชัดเจน และต่ำที่สุด คือ ด้านที่มีค่าเฉลี่ย (= 1.35) คือ นักศึกษาชาวจีนมีความต้องการให้มหาวิทยาลัยในราชอาณาจักรไทยมีบริการรถรับ-ส่งไปดำเนินการทำ VISA

References

จิตรภณุ ภูมิฉัฏฐ์มงคล และ อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า. (2559). พฤติกรรมการศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของนักศึกษาชาวจีน. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย, 5(1), 38-49.

ธารินี พัชรเจริญพงศ์. (2554). ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาหลักสูตรนานาชาติของนักศึกษาชาวต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

วิลาวัลย์ เปลี่ยนสะอาด. (2551). แรงจูงใจของนักศึกษาต่อการเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีหลักสูตรนานาชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ศูนย์สารสนเทศอุดมศึกษา. (2562). นักศึกษารวม 2562 ภาคเรียนที่ 1 ใน สถาบันอุดมศึกษาทั้งหมดจำแนกตามสถาบัน/กลุ่ม/สถาบัน/เพศ/ระดับการศึกษา/ชื่อหลักสูตร/(นักศึกษาต่างชาติ). [ออนไลน์]. แห่งที่มา http://www.info.mua.go.th/info/.

ศิริวรรณ ซำศิริพงษ์. (2551). ปัจจัยที่เป็นแรงจูงใจและความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต (MBA). (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). ปทุมธานี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Bista, K. (2016). Examining the research on international students: Where are we today? Journal of International Students, 6(2). I-X.

Cohen. A. K., Hoyt, L. T., & Dull, B. (2020). A descriptive study of COVID-19-related experiences and perspectives of a national sample of college students in Spring 2020. The Journal of Adolescent Health, 67(3). 369 – 375.

Eder, J., Smith, W., & Pitts, R. (2010). Exploring factors influencing student study abroad destination choice. Journal of Teaching in Travel & Tourism, 10(3). 232 – 250.

M. Billy, (2020). The Influence of Dynamic Organizations and the Application of Digital Innovations to Educational Institutions in the World during the COVID-19 Pandemic (April 8, 2020). Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=3588233

M. Durnin. (2020). Covid-19 update: China survey results. British Council, London

M. Tesar. (2020). Towards a post-Covid-19 “New Normality?” Physical and social distancing, the move to online and higher education. Policy Future in Education, 18 (5) (2020), pp. 556-559

Zhou L, Nie K, Zhao HT, Zhao X, Ye BX, Wang J, et al. (2021) Eleven COVID-19 outbreaks with local transmissions caused by the imported SARS-CoV-2 delta VOC — China, July–August, 2021. China CDC Wkly 2021;3(41):863 − 8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-15