ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ภาคภูมิ แซงบุญเรือง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วานิช ประเสริฐพร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, ผู้บริหาร, ประสิทธิผลของสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 354 คน โดยแบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 84 คน ครูผู้สอน จำนวน 270 คน ได้มาโดยใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามขนาดของโรงเรียนและแต่ละชั้นใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  2) ผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น พบว่า โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง และมีความสัมพันธ์กันทางบวก

References

จุรีรัตน์ ม่วงนา.(2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารองค์การ: แนวคิด ทฤษฎีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

นครินทร์ ชานะมัย .(2560). การบริหารเชิงกลยุทธ์ของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัลในประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ณัฐวัฒน์ สงเคราะห์ธรรม. (2554). การศึกษาการใช้อำนาจของผู้บริหารตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2564). คุณลักษณะของผู้นำเชิงกลยุทธ์ (Strategic Leadership). สืบค้น 25 พฤษภาคม 2565, จาก www.popticles.com/business/strategic-leadership-characteristics/

สำนักงานรัตนา เหลืองาม. (2562). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จันทบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

คณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ .(2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2559 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 -2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิค.

สาวิตรี ง้วนหอม. (2556). ปัจจัยความเสี่ยงกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

Wayne K. Hoy and Cecil G.Miskel .(2005). Educational Administration: Theory Research and Practice, 8th ed. (Singapore: McGraw-Hill Inc., 2008), 291-322.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Measurement. 30(3): 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-15