ผลของการใช้กิจกรรมบัตรคำศัพท์ร่วมกับชุดแบบฝึกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้คำศัพท์และความคงทนในการจำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ยุวรีนิจ จีระเรืองวงษ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธรรศนันต์ อุนนะนันทน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การเรียนรู้คำศัพท์, ความคงทนในการจำ, กิจกรรมบัตรคำศัพท์, ชุดแบบฝึก, ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้คำศัพท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ ความคงทนในการจำ และความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมบัตรคำศัพท์ร่วมกับชุดแบบฝึก กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 37 คน โดยใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มแบบกลุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บัตรคำศัพท์ ชุดแบบฝึก แบบทดสอบคำศัพท์ แผนการจัดการเรียนรู้ และ แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลจากวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ของนักเรียนเพิ่มขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยรวมหลังเรียนเท่ากับ 7.27 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน และค่าเฉลี่ยรวมก่อนเรียนเท่ากับ 1.64 นอกจากนี้ค่าเฉลี่ยรวมด้านความคงทนในการจำเพิ่มขึ้นเท่ากับ 8.45 คะแนน โดยเป็นผลต่างจากค่าคะแนนเฉลี่ยรวมหลังเรียน 1.18 คะแนนซึ่งมีค่านัยสำคัญทางสิถิติเท่ากับ 0.00 และค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจที่มีต่อการใช้กิจกรรมเท่ากับ 4.08 หรืออยู่ในระดับมาก จากการวิจัยนี้สามารถสะท้อนผลได้ว่าการสร้างนวัตกรรมการสอนที่เสริมประสิทธิภาพด้วยการจัดระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองธรรมชาติในการเรียนรู้ในสภาพจริงของนักเรียนได้อย่างเข้าใจสามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีการพัฒนาตนเองได้ดีและจำเนื้อหาได้ยาวนานพร้อมทั้งก่อให้เกิดสร้างความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้

References

กฤติมา จรรยาเพศ และ ปาริฉัตร ชุ่มนาว. (2562). การใช้วิธิสอนโฟนิกส์ เพื่อเสริมสร้างการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น UMT-POLY Joural, 16, 211-217.

โยธิน ศิริเอ้ย. (2559). ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รหัสวิชา ง 32101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559. เชียงราย. โรงเรียนเทิงวิทยาคม.

บุตรศิรินทร์ จิวพานิชย์. (2563). พัฒนาสื่อการเรียนผ่านอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ในรายวิชาภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา, 4(1), 36-46.

รัชดาภรณ์ พิมพ์พิสิฐถาวร. (2561). การพัฒนาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษด้วยแบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). นครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริพร อำพันธ์ศรี. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้นิทานภาษาอังกฤษที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและความพึงพอใจต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 11(2), 117-128.

สยามรัฐ จิตแจ้ง และอาบีเกล มีลาด เอสเซี่ยน. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ เรื่อง Present Simple Tense ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม โดยใช้บัตรคำ. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา, 5(2), 57-65.

สินีนาฏ มีศร. (2559). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอรรถฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีวิชัยวิทยาจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). นครปฐม. มหาวิทยาลัยศิลปากร

Atkinson, R. C., & Shiffrin, R. M. (1968). Human Memory: A Proposed System and Its Control Processes. The Psychology of Learning and Motivation, 89-195.

Azhary, S., Supahar, S., Kuswanto, K., & Ikhlas, M. (2020). Relationship Between Behavior of Learning and Student Achievement in Physics Subject. Jurnal Pendidikan Fisika Indonesia, 16(1), 1-8. doi:10.15294/jpfi.v16i1.23096

Çeliköz, N., Erişen, Y., & Şahin, M. (2019, August). Cognitive Learning Theories with Emphasis on Latent Learning, Gestalt and Information Processing Theories. Journal of Educational and Instructional Studies in the World, 9(3), 18-33.

Gairns, R., & Redman, S. (1986). Working with Words. Cambridge: Cambridge University Press.

Hatch, C., & Brown, E. (1995). Vocabulary, Semantic, and Language Education. New York: Cambridge University Press.

Laufer, Nation, & Meara. (2005). Ten Best Ideas for Teaching Vocabulary. In The Language Teacher, 29, 3-6.

Lee, J., & Yoon, K. (2019). Alternative Vocabulary Learning Approaches in EFL Setting: Bottom-up or Top-down? English Teaching, 74(3), 141-160. doi:10.15858/engtea.74.3.201909.141

Moskovsky, C., Jiang, G., Libert, A., & Fagan, S. (2014). Bottom-Up or Top-Down: English as a Foreign Language Vocabulary Instruction for Chinese University Students. TESOL QUARTERLY, 49(2), 1-22. doi:10.1002/tesq.170

Nahari, A., Alfadde, H. (2016). From Memorising to Visualising: The Effect of Using Visualisation Strategies to Improve Students’ Spelling Skills. Canadian Center of Science and Education, 9(6), 1-18.

Nakata, T. (2020). Learning Words with Flashcards and Word Cards. In S. Webb (Ed.), The Routledge Handbook of Vocabulary Studies. (pp. 304-319). New York: Routledge.

Nation, I. S. (1983). Teaching and Learning Vocabulary. English Language Institute, University of Wellingtonpp.

Richards, J. (1976). The Role of Vocabulary Teaching. TESOL Quarterly, 10(1), 77-89.

Seal, B. D. (1991). Vocabulary Learning and Teaching. In M. C. Murcia (Ed.), Teaching English as a second or foreign language (pp. 296-311). Boston, MA: Heinle & Heinle.

Sitompul, E. Y. (2013). Teaching Vocabulary Using Flashcards and Word List. Journal of English and Education 2013, 1(1), 52-58.

Sun, J., Oh, Y., Seli, H., & Jung, M. (2017). Learning Behavior and Motivation of At-Risk College Students: The Case of a Self-Regulatory Learning Class. The Journal of At-Risk Issues, 20(2), 12-24.

Thorndike, E. L. (1898). Animal Intelligence: An Experimental Study of the Associative Processes in Animals. Psychological Review Monograph Suplement.

Vygotsky, L. (1978). Mind in Society: The Development of Higher Psychological Processes. Cambridge: Harvard University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-15