แนวทางการพัฒนาทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในเครือข่ายศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คำสำคัญ:
ทักษะการสื่อสาร, เทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21, โรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนาของศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 สำหรับรายวิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งได้จากการวิเคราะห์บทความวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บทความวิจัยของนักศึกษา หลักสูตรครุศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ฝึกประสบการณ์สอนกับโรงเรียนร่วมเครือข่ายของศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยพิจารณาจากคัดเลือกจากบทความที่ผ่านเกณฑ์การประเมินบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ในงานประชุมเชิงวิชาการระดับชาติสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการศึกษา ครั้งที่ 3 ปี พ.ศ. 2564 และเกณฑ์การพัฒนาทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยี ได้จำนวนทั้งสิ้น 18 บทความ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพบทความวิจัยและแบบประเมินแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บทความวิจัยทั้งหมดเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน มีรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (ร้อยละ 100) บทความวิจัยมุ่งพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยี (ร้อยละ 66.67) และการทักษะการสื่อสาร (ร้อยละ 33.33) ตามลำดับ 2) แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารและเทคโนโลยีมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมากที่สุด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นปูพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทโรงเรียน 2) ขั้นนำเทคโนโลยีไปใช้แบบสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ 3) ขั้นลงมือแก้ปัญหาและบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ 4) ขั้นสื่อสารและเผยแพร่ผลงานเชิงวิทยาศาสตร์ ข้อเสนอแนะในอนาคตควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในการใช้แนวทางการจัดการเรียนรู้กับนักเรียนในระดับชั้นอื่น ๆ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). การจัดการเรียนรู้ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), A1–A6.
ชัญญานุช พรหมดวง และ เชาวนาถ สร้อยสิงห์. (2564). การศึกษาทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง งานและพลังงาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์. วารสารวิชาการครุศาสตร์ สวนสุนันทา, 5(2), 1–16.
ชนม์ชนัญ ธนูพราน และ กนกกาญจน์ กาญจนรัตน์. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การถ่ายโอนความร้อน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์ สวนสุนันทา, 3(1), 57–64.
เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช และคณะ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208–222.
พวงเพชร นรทีทาน และ ธีรภัทร์ ถิ่นแสน. (2564). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์โรคอุบัติใหม่. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 3(2), 84–91.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และ คณิตศาสตร์ (ฉบับสมบูรณ์). สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2563, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/isbn-9786163627179/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2562-2564. พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
เอกภูมิ จันทรขันตี. (2559). การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการโต้แย้งในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 11(1), 217–232.
อรชร ปราจันทร์ และ สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาส์อีสเทอร์น, 12(1), 156–169.
Hakverdi-Can, Meral; Sonmez, Duygu. (2012). Learning How to Design a Technology Supported Inquiry-Based Learning Environment. Science Education International, 23(4), 338–352.
Narine L, Meier C. (2020). Responding in a time of crisis: Assessing extension efforts during COVID-19. Advancements in Agricultural Development, 1(2), 12–23.
Scruggs, T. E., Mastropieri, M. A., Cook, S. B., & Escobar, C. (1986). Early intervention for children with conduct disorders: A quantitative synthesis of single-subject research. Behavioral Disorders, 11(4), 260–271.
Yoonsook Chung, Jungsook Yoo, Sung-Won Kim, Hyunju Lee & Dana L. Zeidler. (2016). Enhancing students’ communication skills in the science classroom through socioscientific issues. International Journal of Science and Mathematics Education, 14, 1–27.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.