การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด เพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ในตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง

ผู้แต่ง

  • ภัทรภรณ์ กาญจนารัตน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง

คำสำคัญ:

การตระหนักรู้ในตนเอง, การสะท้อนคิด, กิจกรรมการเรียนรู้, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลอง วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองก่อนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน 4) ศึกษาความก้าวหน้าของผลการเรียนรู้ของนักศึกษา การวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาจากประชากรทั้งหมด คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง จำนวน 55 คน เครื่องมือการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบวัดการตระหนักรู้ในตนเอง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบบันทึกการสะท้อนคิด  วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าประสิทธิภาพของแผนการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าร้อยละความก้าวหน้าของผลการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80.18/81.45  2) คะแนนการตระหนักรู้ในตนเองหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดสูงกว่าก่อนเรียน  3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  4) ค่าร้อยละความก้าวหน้าของผลการเรียนรู้ภาพรวม เท่ากับร้อยละ 44.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

References

กมลวรรณ บัณฑิตสาธิสรรค์. (2561). การสะท้อนคิดของนักศึกษาสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

กฤษณา ขำปากพลี. (2557). ผลการใช้การบันทึกสะท้อนคิดที่มีต่อพฤติกรรมของผู้สอนและผู้เรียนในชั้นเรียนวิจัยการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองแบบผสมวิธี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กัตตกมล พิศแลงาม. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสะท้อนคิดโดยใช้รูปแบบวงจรของกิ๊บส์ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาภาษา การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(2), 12.

ช่อเพชร เบ้าเงิน. (2545). การพัฒนาหลกัสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ด้านการตระหนักรู้ตนเองของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-20.

ทัศนีย์ สุริยะไชย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้ในตนเองกับการร่วมรู้สึกในวัยรุ่น [สารนิพนธ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธีรศักดิ์ จิระตราชู. (2561). ผลการจัดการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมโดยใช้วงจรการสะท้อนคิดของกิบส์ที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปนัดดา ยะติน. (2560). ผลการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฏีการปรึกษาเกสตัลท์ต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนพิการเรียนรวม โรงเรียนวังเหนือวิทยา จังหวัดลำปาง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประไพ กิตติบุญถวัลย์, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ และศุภลักษณ์ ศรีธัญญา. (2561). การสะท้อนคิด : จากประสบการณ์ที่ล้ำค่าสู่การเปลี่ยนแปลง. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 12(1), 102.

ปิยาณี ณ นคร. (2556). การเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิด Learning by Reflective Thinking. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร,3(2), 1-20.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาวดี เหมทานนท์ และอมาวสี อัมพันศิริรัตน์. (2563). ผลของรูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีการสะท้อนคิดต่อการตระหนักรู้ในตนเองในนักศึกษาพยาบาล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7), 275-288.

ยอดแก้ว แก้วมหิงสา. (2557). การจัดการเรียนรู้เพศศึกษาตามแนวคิดของแครทวอลเพื่อสร้างเสริมความตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนประถมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศจีแพรว โปธิกุล. (2555). การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริพร สว่างจิตร, กุสุมา กังหลี และนันทิกานต์ กลิ่นเชตุ. (2562). ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบกระบวนการกลุ่มผ่านการสะท้อนคิด เพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก, วารสารพยาบาลทหารบก, 20(3), 333–342.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุธาสินี นพธัญญะ. (2551). ผลของโปรแกรมการปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดเชิงพฤติกรรมและการรู้การคิดต่อการตระหนักรู้ตนเองกับการยอมรับตนเองของผู้ติดสุรา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวิภา ภาคย์อัต. (2547). การพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองด้วยกิจกรรมของนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อาทิตยา สีหราช. (2561). การส่งเสริมความสุขในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับในวิชาเคมี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bulman, Chris. & Schutz, Sue. (2008). Reflective Practice in Nursing. (4th ed.). Blackwell.

Chong, M. C. (2009). Is reflective practice a useful task for student nurses. Asian Nursing Research, 3(3),111-120.

Ersözlü, Z. N., & Arslan, M. (2009). The effect of developing reflective thinking on Meta cognitional awareness at primary education level in Turkey. Reflective Practice, 10(5), 683-695.

Gibbs, G. (1988). Learning by Doing: A Guide to Teaching and Learning Methods. Oxford Further Education Unit.

Morin, A. (2011). Self‐awareness part 1: Definition, measures, effects, functions, and antecedents. Social and personality psychology compass, 5(10), 807-823.

Timmins F., & Neill F.(2013). Reflection: An Audit of Students Use of Structured Model Within Specific Assessments. Procedia Social and Behavioral Sciences, 93(4), 1368-1370.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14