แนวทางการจัดการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารตส์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
ศิลปะตามแนวคิดลูสพารตส์, การคิดสร้างสรรค์, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อแนวทางการจัดการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารตส์ และ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารตส์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมศิลปะ จำนวน 9 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการกิจกรรมศิลปะ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีประเด็นในการสัมภาษณ์ประกอบด้วย 1) การจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ 2) แนวทางการกำหนดวัตถุประสงค์ 3) ลักษณะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม 4) สื่อการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการจัดกิจกรรม และ 5) การวัดและประเมินผล ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าการจัดการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารตส์ จะต้องจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ จากวัสดุอุปกรณ์ที่มีความหลากหลายทั้งด้านขนาด สี และพื้นผิว สอดแทรกปัญหาเพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการคิด ทดลอง และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง 2) แนวทางการจัดการเรียนรู้ศิลปะตามแนวคิดลูสพารตส์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ สำหรับเด็กปฐมวัย ประกอบไปด้วย (1) การจัดสภาพแวดล้อม (2) เด็กร่วมวางแผน (3) สื่อศิลปะที่ดี และ (4) บทบาทของครูและผู้ปกครอง
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัทพริกหวานกราฟฟิก. ปิ่นทอง นันทะลาด. (พฤษภาคม 2560). ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย. https://fliphtml5.com/zvgsj/ampo/เอกสารประกอบการสอน_-_ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย/72/
ภาวิณี โตสาลี และ ณัฐทิญาภรณ์ การะเกต. (2564). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 5(1), 54-66. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/250926
สิริพรรณ ตันติรัตน์ไพศาล. (2545). ศิลป์สำหรับเด็กปฐมวัย. สุวีริยาศาสน์.
สำนักงานเลขาธิการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). การดูแลและการศึกษาเด็กปฐมวัย (ไม่ระบุปีที่พิมพ์). สืบค้นจาก https://preschool.or.th/content/documents/1233-file.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัทพริกหวานกราฟฟิก.
Fix, A. (3 March 2021). Loose Parts Art Activity for Preschoolers. https://www.howweelearn.com/loose-parts-art-activity-for-preschoolers/
Early Excellence Inspirational Learning. (2022). Transient Art and Loose Parts Play. https://rb.gy/yr0vk4.
Flannigan, C., & Dietze, B. (2018). Children, Outdoor Play, and Loose Parts. Journal of Childhood Studies, 42(4), 53-60. https://doi.org/10.18357/jcs.v42i4.18103
Nicholson,S. (1971). How not to cheat children: The theory of loose parts. Landscape Architecture, 62, 30–34.
Lester, S. and Russell, W. (January 2008). Play for a Change: Play, Policy and Practice – A review of contemporary perspectives, London: National Children’s Bureau. https://www.researchgate.net/publication/263087151_Play_for_a_Change_Play_Policy_Practice_A_Review_of_Contemporary_Perspectives
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.