การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • Natthiyaporn คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : เด็กปฐมวัย ความคิดสร้างสรรค์ ระดับความคิดสร้างสรรค์ กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้การวิจัยเชิงทดลอง The One – group Pretest – Posttest Design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดโบสถ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี จำนวน 49 คน โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จากการวาดภาพ Test of Creative Thinking - Drawing Production วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ t-test dependent variable

          ผลการวิจัยพบว่าความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและรายด้าน พบว่า ทั้งด้านความคิดละเอียดลออ ความคิดยืดหยุ่น ความคิดริเริ่ม และความคิดคล่องแคล่ว หลังการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การทดสอบก่อนทดลองและหลังทดลองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 15.75 คะแนน และ 44.64 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการทดลอง พบว่าคะแนนการทดสอบก่อนการทดลองและหลังการทดลองของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรสโปรดักส์.
ดวงฤทัย น้อยพรม. (2552). การอบรมเลี้ยงดูและบรรยากาศชั้นเรียนที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา). เชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทิวัตถ์ นกบิน. (2542). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.
(การวัดผลการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
ธีร์กัญญา โอชรส. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยการศึกษา). มหาสารคาม. บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ผุสดี กฏิอินทร์. (2526). เด็กกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. เอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมวัยเด็ก หน่วย 8 – 15. พิมพ์ครั้ง
ที่ 2. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พีระพงษ์ กุลพิศาล. (2533). การจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย อายุ 5 – 6 ขวบ “3 มิติทัศนะทางศิลปะ และศิลปศึกษา”.
กรุงเทพฯ: การศาสนา.
. (2545). สมองลูกพัฒนาได้ด้วยศิลปะ. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
มิ่งขวัญ ภาคสัญไชย. (2551). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุและผลของความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนของอัครสังฆมณฑล กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม.(วิจัยการศึกษา) กรุงเทพฯ. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: แม็ค.
เลิศ อานันทนะ. (2529). “จิตวิทยากับพฤติกรรมการแสดงออกทางศิลปะของเด็ก”, สรุปการจัดชุมนุมเชิงปฏิบัติการศิลปะเด็ก
ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.
. (2535). เทคนิคการสอนศิลปะเด็ก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราภรณ์ รักวิจัย. (2535). การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แสงศิลป์การพิมพ์.
วิริยะ ฤาชัยพานิชย์. (2554, 30 มกราคม). คิดต่าง สร้างปัญญา ตอนทำไมต้องศึกษาแนวใหม่ ทำไมต้องสร้างสรรค์. ช่องเนชั่น
แชนแนล 16.00-17.00 น.
สุชาดา นทีตานนท์. (2550). ผลการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติจริงที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษา
ปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
อารี พันธ์มณี. (2540). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
. (2545). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ใยไหม.
อารี รังสินันท์. (2532). ความคิดสร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: แพร่พิทยา.
Guilford, J.P. (1959, August). Three faces of intellect. American Psychologist. 14(8): 469-479.
. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill.
Jellen, H.G.; & Urban, K.K. (1986, Autumn). The TCT-DP (The Test for Creative Think drawing Production) :
An Instrument that can be applied to most age and ability groups. The Creative Child and Adult
Quarterly. 11(3). 138-155.
Lowenfeld, V.; & Brittain, W. (1987). Creative and Mental Growth. New York: Macmillan.
Richard, C.R. & Norman, S. (1977). Education Psychology: A Developmental Approach. Addison Wesley
Publishing Company. Inc.
Torrance, E.P. (1962). Education and the Creative Potential. Minneapolis: The Lund Press Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29