การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การพัฒนาความเจริญรุ่งเรือง ของกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 – 6 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้เกมการศึกษา

ผู้แต่ง

  • กิตติธัช จรัสเลิศวงศ์ โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดวิเคราะห์, กรุงรัตนโกสินทร์, เกมการศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 – 6 โดยใช้เกมการศึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์  รัชกาลที่ 4 - 6 โดยใช้เกมการศึกษา ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 28 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ เกมการศึกษา และแบบทดสอบวัดผลทักษะการคิดวิเคราะห์ทางการเรียน เรื่อง การพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 – 6 โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการศึกษา พบว่า 1) การศึกษาทักษะการคิดวิเคระห์ของกลุ่มเป้าหมายมีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ดีขึ้นและผลการทดสอบอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ภายหลังการจัดการเรียนรู้ โดยอัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 14.82  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 2.28  2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์  รัชกาลที่ 4 - 6 โดยใช้เกมการศึกษาก่อนหน้าการจัดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายมีทักษะการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับไม่ผ่านเกณฑ์ โดยอัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 6.86 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 2.07 และภายหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษามีอัตราค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 14.82 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 2.28

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษา - ภาคบังคับ. โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กรุณา พิทักษ์ทนต์ และคณะ. (2019). การศึกษาความสามารถอ่านคำมาตราตัวสะกดแม่กนและแม่กดของนักเรียนที่มีปัญหาทางการอ่านระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้วิธีโฟนิกส์ ร่วมกับเกมกระดาน. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(1), 11-26.

กฤตนัย ชุมวุฒิศักดิ์. (2558). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตย หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย รายวิชา ส15101 สังคมศึกษา 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 177-185.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 8). พีบาลานซ์ดีไซค์ แอนปริ้นติ้ง.

ณรงค์ พ่วงพิศ และคณะ. (2555). หนังสือเรียนวิชาพื้นฐานประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท.จำกัด.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 22). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทญ์ณภัค พรมมา. (2023). รูปแบบการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ในวรรณคดีสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา, 7(2), 49-63.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รักชน พุทธรังสี. (2554). การประยุกค์ใช้บอร์ดเกมเพื่อทักษะการเเสดง. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แสงดาว นพพิทักษ์. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างการใช้กับไม่ใช้โปรแกรมควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์รายวิชาระบบฐานข้อมูล [เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อรรถเศรษฐ์ ปรีดากรณ์. (2557). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง วงสีธรรมชาติ. [ปริญญานิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษาไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Fringer on Board Games. (2561). เกมการศึกษาที่สามารถจัดการเรียนรู้ได้จริง. https://www.facebook.com/FringerBG/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14