การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

ผู้แต่ง

  • วราพร ทองจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • จักรชัย ยิ้มงาม คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษ, การจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ, ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ชั้นปีที่ 3 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรม การอ่านภาษาอังกฤษตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบที่ได้รับการพัฒนาขึ้น มีจำนวน 6 ชุดกิจกรรม ในแต่ละชุดกิจกรรม ประกอบด้วย คู่มือครู ชุดกิจกรรมที่ผู้เรียนต้องปฏิบัติ แผนการสอน  แบบฝึกหัด และสื่อการเรียนรู้ 2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษากลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์, 5(3), 7–20.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2554). นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 7). แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

รุ่งนภา ชีวรัศมี, บำรุง โตรัตน์, เสงี่ยม โตรัตน์, และปราณี นิลกรณ์ (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือในการอ่านภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความตระหนักด้านจริยธรรมธุรกิจ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities,Social Sciences and Arts, 12(3), 1210-1224.

สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2565). รายงานผลคะแนนทดสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1. การประชุมรายงานผลดำเนินการของสถาบันภาษา ครั้งที่ 6/2565. สถาบันภาษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สรบดินทร์ ประสารทรัพย์. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนแบบเน้นภาระงานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิเคราะห์ และทักษะการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร. [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2566). สรุปสถิตินักศึกษาปัจจุบันแยกเพศแยกตามคณะกลุ่มสังคม-วิทย์ นักศึกษาปัจจุบันประจำปีการศึกษา 2566. สืบค้น 15 เมษายน 2567, จาก https://regis.rmutp.ac.th/wp-content/uploads/2023/12/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%99%E0%B8%A8-%E0%B8%84%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88_661130.pdf

Ahmad, J. S., Sitti, H. R., Abdul, R. H., Mohammad, N. A. G., & Sanitah, M. Y. (2014). Levels of Inquiry-Based Learning on Writing Skill in English Language among High School Students: A Study in Makassar Indonesia. Journal of Language and Literature, 5(2), 62–66.

Bantalem, D.W. & Kassie, S.B. (2020). Effects of Using Inquiry-Based Learning on EFL Students’ Critical Thinking Skills. Asian-Pacific Journal of Second and Foreign Language Education, 5(1), 1-14.

Barnhardt, E. B., & Kamil, M. L. (1995). Interpreting Relationships between L1 and L2 Reading: Consolidating the Linguistic Threshold and the Linguistic Interdependence Hypotheses. Applied Linguistics, 16(1),15-34.

BSCS. (2006). BSCS Science: An Inquiry Approach. Kendall/Hunt Publishing Company.

Chawwang, N. (2008). An Investigation of English Reading Problems of Thai 12th-Grade Students in Nakhonratchasima Educational Regions 1,2,3, and 7. [Unpublished Master of Arts Degree in English]. Srinakharinwirot University.

Chuenta, C. (2002). Reading Materials for Graduate Students in Administration. [Unpublished Master’s Thesis]. Khon Kaen University.

Conley, M.W., & Wise, A. (2011). Comprehension for What? Preparing Students for their Meaningful Future. Theory into Practice, 50(2), 93-99.

DiYanni, R. (2017). Reading Responsively, Reading Responsibly: An Approach to Critical Reading. Critical Reading Across the Curriculum: Humanities, 1(1), 1-23.

Ermawati, Nasmilah, Y., & Abidin, P. (2018). The Role of Inquiry-Based Learning to Improve Reading Comprehension of EFL Students. ELS-Journal on Interdisciplinary Studies in Humanities, 1(1),13-20.

French, D. (2005). Was Inquiry a Mistake? Journal of College Science Teaching, 35(1), 6062.

Hamlin, A. K. (2017). Approaching Intellectual Emancipation: Critical Reading in Art, history, and Wikipedia. Critical Reading Across the Curriculum: Humanities, 1(1), 104-122.

Lakovos, T. (2011). Critical and Creative Thinking in the English Language Classroom. International Journal of Humanities and Social Science, 1(8), 82–86.

Lee, H. (2014). Inquiry-based Teaching in Second and Foreign Language Pedagogy. Journal of Language Teaching and Research, 5(6), 1236-1244.

Prince, M. J. & Felder, R. M. (2006). Inductive Teaching and Learning Methods: Definitions, Comparisons, and Research Bases. Journal of Engineering Education, 95(1), 123-137.

Qian, D.D. (2002). Assessing the Roles of Depth and Breadth of Vocabulary Knowledge in Reading Comprehension. Canadian Modern Language Review. 56(2).

Sari, F. (2017). Enhancing Students Reading Ability through Inquiry-Based Learning to EFL Students. English Community Journal, 1(1), 60-63.

Taylor, H.G. (2002). The WebQuest Model for Inquiry-based Learning Using the Resources of the World Wide In. Watson, D. & Anderson, J. (EDs.), Networking the Learner: Computer in Education (pp.319-328). Boston, MA: Springer US.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14