ความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ผู้แต่ง

  • สัญรัฐ ลักขณา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม)
  • ศรราม สุขสำราญ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม)

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, การเรียนการสอนออนไลน์, โควิด-19

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 165 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จำนวน 43 ข้อ ที่มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา IOC = 0.67 ถึง 1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.28-0.79 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน    ผลการวิจัยพบว่า พบว่า ระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.29 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.71 เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสอดคล้องกับสถานการณ์ ด้านครูผู้สอน และด้านการวัดและการประเมินผลการสอน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านเนื้อหา ด้านวิธีการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านผู้เรียน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง

References

กรมควบคุมโรค. (2563). มาตรการและแนวทางการดำเนินการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้น 15 มีนาคม 2566, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/im_commands.php

ประพิณศรี นามแก้ว. (2566). ผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่อนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พริษฐ์ วัชรสินธุ และธีรศักดิ์ จิระตราชู. (25 สิงหาคม 2564) ทางออกการศึกษาไทยยุคโควิด. https://workpointtoday.com/covid-policy-lab-education/

มนัสนันต์ บุตรสอน. (2558). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14 (34), 285-298. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/242473/165778

วิโรชน์ หมื่นเทพ. (2564). ทิศทางการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ภายใต้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ของครูในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 9(3) 125-136. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/bim/article/view/263016/177157

อมร ลีลารัศมี. (2563). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ COVID-19 จากโรคติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2. สืบค้น 15 มีนาคม 2566, จาก https://tmc.or.th/pdf/Covid-19-MD-AmornUpdate.pdf

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14