ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • เฟาซียะห์ ดือเระ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี
  • อะห์มัด ยี่สุ่นทรง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ผู้นำเชิงกลยุทธ์, ผู้บริหาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ทำงานและขนาดของสถานศึกษา 3) เพื่อประมวลข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จำนวน 260 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามเกณฑ์สัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรส่วน ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.67-1.00 และหาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีของครอนบาคได้ค่าเท่ากับ 0.972 สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการค้นคว้าอิสระพบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามเพศ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน  และขนาดสถานศึกษา พบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ.05 3) ผลการประมวลข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ กล่าวคือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำนโยบาย เป้าหมายยุทธศาสตร์ เกณฑ์มาตรฐานของสถาน มีการสื่อสารกันอย่างเปิดเผยเพื่อความเข้าใจตรงกัน มีความสามารถคาดการณ์แนวโน้มอนาคต และคิดเชิงรุกในการกำหนดทิศทางของสถานศึกษา

References

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป ทฤษฎีวิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. เนติกุลการพิมพ์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 7). วีอินเตอร์ปริ้น.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่สถานศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ.

กล้าศักดิ์ จิตต์สงวน. (2555). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธำหรับผู้บริหารโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ซาฝีน๊ะ แอหลัง. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

นนทกร อาจวิชัย และมาริสา ไกรฤกษ์. (2554). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์:รูปแบบของผู้นำยุคใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นวลจันทร์ จุนทนพ. (2559). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเทศบาลในจังหวัดจันทบุรี ระยอง ตราด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี.

อภิชญา จะเรียมพันธ์. (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร . [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อำนวย มีราคา. (2564). การศึกษาภาวะผู้นาเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษากลุ่มที่11 ศรีสะเกษ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์. วารสาวิชาการมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์, 6(1), 134-145.

Krejcie, R.V., and D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-14