การศึกษาความยึดมั่นผูกพันในการเรียนแบบผสมผสาน ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คำสำคัญ:
ความยึดมั่นผูกพันในการเรียน, การเรียนแบบผสมผสาน, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความยึดมั่นผูกพันในการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2565 ที่เรียนรายวิชาพัฒนาหลักสูตร ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา EDC1104การพัฒนาหลักสูตร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 126 คน ซึ่งผู้วิจัยสุ่มกลุ่มตัวอย่างการวิจัยโดยใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ จากนั้นเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดความยึดมั่นผูกพันในการเรียนจำนวน 18 ข้อ แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ความยึดมั่นผูกพันทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2565 ที่เรียนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก ( = 3.60, S.D. = 0.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายสาขาวิชา พบว่า สาขาวิชาที่มีความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ภาษาไทย ( = 3.90, S.D. = 0.51) การศึกษาปฐมวัย (= 3.73, S.D. = 0.64) ภาษาอังกฤษ (= 3.65, S.D. = 0.58) วิทยาศาสตร์ (= 3.62, S.D. = 0.69) สังคมศึกษา (= 3.60, S.D. = 0.62) และ คณิตศาสตร์ (= 3.57, S.D. = 0.71) ส่วนสาขาวิชาที่มีความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนอยู่ในระปานกลาง ได้แก่ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีทางการศึกษา ( = 3.14, S.D. = 0.67)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19). สืบค้น 16 กรกฎาคม 2564, จาก https://moe360.blog/.
ทับทิมทอง กอบัวแก้ว, เกริกเกียรติ กอบัวแก้วและสมเกียรติ กอบัวแก้ว. (2566). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบไฮบริดที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา, 7(1), 3.
ทิพย์อาภา กลิ่นคำหอม. (2556). โมเดลเชิงสาเหตุของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากอิทธิพลของครู [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยาสาส์น.
พสุ เดชะรินทร์. (2564). การเรียนรู้ที่สูญเสียไป. สืบค้น 28 กรกฎาคม2564,จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/127085.
วรพิชชา เวชวิริยกุล และคณะ. (2563). การวิเคราะห์องค์ประกอบและโปรไฟล์แฝงของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 13(1), 83-97.
วรากรณ์ สามโกเศศ. (2563). เรียน online ต่างกับเรียนในชั้นเรียน กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้น 28 กรกฎาคม 2564, จากhttps://doh.hpc.go.th/bs/topicDisplay.php?id=401.
สุทธิพร แท่นทอง. (2563). ทฤษฎีและการเรียนรู้ในโลกยุคดิจิทัล: ทฤษฎีเชื่อมโยงความรู้และการเรียนรู้แบบผสมผสาน. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์สวนสุนันทา, 14(1), 12.
สุรศักดิ์ หอมอ่อน. (2546). การวิเคราะห์องค์ประกอบประสิทธิภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสามัญศึกษา จังหวัดนครพนม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Amrai, K., Motlagh, S. E., Zalani, H. A., & Parhon, H. (2011). The relationship between academic motivation and academic achievement students. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 15, 399-402.
Barkley,E.F. (2010). Student engagement techniques: A handbook for college teachers. Jossey- Bass.
Blasco-Arcas, L., Buil, I., Hernández-Ortega, B., & Sese, F. J. (2013). Using clickers in class. The role of interactivity, active collaborative learning and engagement in learning performance. Computers & Education, 62, 102-110.
Carini, R.M., Kuh, G.D., & Klein, S.P. (2006). Student engagement and student learning: Testing the linkages. Research in Higher Educaation, 47, 1-32.
Daniel W.W. (2010). Biostatistics: Basic concepts and methodology for the health sciences. John Wiley & Sons.
Sharma, B.R., & Bhaumik, P.K. (2013). Student engagement and its predictors: An exploratory study in an Indian business school. Global Business Review, 14(1), 25-42.
Skinner, E.A., & Belmont, M.J. (1993). Motivation in the classroom: Reciprocal effects of teacher behavior and student engagement across the school year. Journal of Educational Psychology, 85(4), 571-581.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.