การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย

ผู้แต่ง

  • ประวิทย์ ฤทธิบูลย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • อาทิตยา เงินแดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • มาโนช บุญทองเล็ก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ณัฐธิดา รุ่งเรือง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • นฤมล โททอง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • สุวนันท์ ถีระแก้ว คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาชุดิกจกรรมการเรียนรู้, การละเล่นของเด็กไทย, สื่อมัลติมีเดีย, นวัตกรรมการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย 2) เพื่อทดลองและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทยหลังการเรียนรู้โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่1 จำนวน 32 คน โรงเรียนวัดศรีสโมสร โดยมีวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย แบบประเมินคุณภาพสื่อ แบบประเมินความพึงพอใจ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง  กระบวนการพัฒนาสื่อตามรูปแบบ ADDIE MODEL และ t-test Dependent  ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย ซึ่งมีเนื้อหาสาระสำคัญประกอบด้วย ที่มาของการละเล่น วิธีการเล่นและกฎกติกา เพลงประกอบการละเล่นและประโยชน์ โดยมีค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการทดสอบประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เท่ากับ 97.13/87.50 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 3) ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย การทดสอบก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.66 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 6.61 การทดสอบหลังเรียนนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.50 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.77 ผลการวิเคราะผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 4) ผลการประเมินความพึงพอใจของชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านนาฏศิลป์ เรื่อง การละเล่นของเด็กไทย หลังการเรียนรู้โดยใช้สื่อมัลติมีเดียมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.43 อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). มัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร. คุรุสภาลาดพร้าว.

กิติพร เกตุแก้ว และวัชรินทร์ ศรีรักษา. (2555). ผลการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ทัศนธาตุ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโนนสูงศรีธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 6(1), 1-6.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ณัฐพงษ์ พระลับรักษา และวัชรพงษ์ พิมขาลี. (2564). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียรูปแบบภาพยนตร์สั้น เรื่อง ความรักเรื่องนี้. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 6(2), 1-9.

ดุสิต ขาวเหลือง และอภิชาติ อนุกูลเวช. (2562). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน. วารสารศึกษาศาสตร์, 30(3), 16-29.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพวรรณ์ อุทธา. (2556). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการละเล่นพื้นบ้านของไทย เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 อายุระหว่าง 4-5 ปี. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(4), 61-73.

บวรวิช รอดรังสี และปาณิสรา หาดขุนทด. (2565). การศึกษาผลของการสอนโดยใช้เกมด้วยสื่อ 3 รูปแบบ ที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2. วารสาร มจร อุบลปริทัศน์, 7(1), 777-784.

พัชรกันย์ เมธาอัครเกียรติ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2562). การศึกษาไทย 4.0: ภาคปฏิบัติทางวาทกรรมในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 12(1), 902-925.

พระมหาปิยภัทร์ จิรปุณญโชติ และกุศล อิศดุลย์. (2555). การพัฒนารูปแบบบทเรียนออนไลน์ รายวิชาวัฒนธรรมเพื่อชีวิต สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 72-84.

วินัชนันท์ นวลคำ และทัศนันท์ ชูโตศรี. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาและทักษะชีวิตในนักเรียนแบบบูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 วันที่ 19 มกราคม 2562 (น.1782- 1795). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ศุภรัตน์ โสดาจันทร์, ทะนงศักดิ์ โสวจัสสตากุล และศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี. (2563). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง งานช่างภายในบ้าน ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), 30-39.

สุไม บิลไบ. (2558). สมรรถนะ ทักษะและบทบาทของครูไทยในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการเรียนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ: บทบาทครูไทยในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ. วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25